ปริศนาน้ำตก “สีเลือด” ที่แอนตาร์กติกาแท้จริงมาจากจุลินทรีย์ใต้ธารน้ำแข็ง

สีแดงฉานราวกับเลือดของน้ำตกโลหิต (Blood Falls) ที่แถบขั้วโลกใต้เป็นที่สงสัยมานานกว่า 100 ปีว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรกันแน่ งานวิจัยล่าสุดยืนยันชัดเจนแล้วว่ามาจากจุลินทรีย์ในแอ่งน้ำใต้ธารน้ำแข็ง และผลงานนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกอีกด้วย น้ำตกโลหิตถูกค้นพบที่ขอบธารน้ำแข็งเทเลอร์ (Taylor Glacier) ในทวีปแอนตาร์กติกาเมื่อปี 1911 โดย Thomas Griffith Taylor นักธรณีวิทยาชาวออสเตรเลียผู้ซึ่งเชื่อว่าสีแดงของน้ำตกน่าจะเกิดจากสาหร่ายสีแดง นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้พิสูจน์ในปี 2003 ว่าที่จริงแล้วสีแดงนั้นเป็นของเหล็กออกไซด์หรือสนิมเหล็ก แต่นั่นก็ยังไม่ได้ไขปริศนาอย่างชัดเจนว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรกันแน่ ต่อมานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอลาสกาและวิทยาลัยโคโลราโดในสหรัฐอเมริกาได้ติดตามเส้นทางของน้ำใต้ธารน้ำแข็งโดยใช้เทคโนโลยีตรวจจับด้วยเสาอากาศและจัดตำแหน่งคลื่นเสียงรอบธารน้ำแข็ง ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างใต้แบบเดียวกับค้างคาวใช้คลื่นเสียงแบบเอ็คโคโลเคชั่น (Echolocation) เพื่อดูสิ่งต่างๆโดยรอบตัวมัน พวกเขาพบว่ามีแอ่งน้ำที่ไม่แข็งตัวใต้ธารน้ำแข็ง นำไปสู่แนวคิดใหม่ว่าตัวการที่ทำให้เกิดสีแดงในน้ำตกคือจุลินทรีย์ในแอ่งน้ำใต้ธารน้ำแข็ง ล่าสุดทีมวิจัยจากสหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บมาจากน้ำตกโลหิตในห้องปฏิบัติการโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนอันทรงพลัง รวมทั้งอุปกรณ์และเทคนิคการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีที่ทันสมัยอีกหลายอย่าง พวกเขาก็ค้นพบสิ่งที่สามารถอธิบายสีแดงของน้ำตกได้อย่างชัดเจน “ทันทีที่ผมดูภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ผมสังเกตว่ามีชั้นของอนุภาคทรงกลมระดับนาโนหรือนาโนสเฟียร์เล็กๆที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก” Ken Livi … Continue reading ปริศนาน้ำตก “สีเลือด” ที่แอนตาร์กติกาแท้จริงมาจากจุลินทรีย์ใต้ธารน้ำแข็ง