นีกอลา ปูแซ็ง ต้นแบบศิลปะคลาสสิกฝรั่งเศสผู้เขียนภาพทิวทัศน์ได้สวยงามที่สุด

นีกอลา ปูแซ็ง (Nicolas Poussin) เป็นจิตรกรชั้นนำแห่งยุคบาโรกของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่เขียนภาพทิวทัศน์สไตล์คลาสสิกที่สวยที่สุด ภาพเขียนของเขามีทั้งแนวศาสนา เรื่องจากตำนาน และเรื่องจากบทกวี ผลงานที่โดดเด่นมากๆคือภาพ Et in Arcadia ego และภาพ A Dance to the Music of Time ต่อมาเขาเขียนภาพทิวทัศน์ในจินตนาการประกอบเรื่องราวต่างๆมากขึ้นและมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมาย โดยเฉพาะภาพเขียนชุด The Four Seasons ที่ประกอบด้วยภาพ 4 ภาพแสดงบรรยากาศคนละช่วงเวลาของวันใน 4 ฤดูถือเป็นผลงานที่งดงามอย่างยิ่ง ปูแซ็งได้รับการยกย่องเป็นต้นแบบของศิลปะคลาสสิกของฝรั่งเศสที่ศิลปินดังยุคต่อมาใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ผลงาน

 
หนีออกจากบ้านไปเรียนศิลปะที่กรุงปารีส

nicolas-poussin-early-works-14

 
นีกอลา ปูแซ็ง เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อปี 1594 ที่เมือง Les Andelys ในแคว้นนอร์มังดีทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส พ่อแม่ของเขาอยากให้ลูกชายเป็นนักกฎหมายแต่ตัวเขามีพรสวรรค์และสนใจด้านศิลปะมากกว่า ปี 1612 มีจิตรกรชื่อ Quentin Varin ผ่านมาเยี่ยมเมือง Andelys แล้วได้เห็นพรสวรรค์ในการเขียนภาพของปูแซ็งเข้าจึงให้การสนับสนุนและกลายเป็นครูคนแรกของเขา แต่เรื่องนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับพ่อแม่ของเขาเพราะไม่เห็นด้วยที่เขาจะเอาดีทางด้านนี้เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นในครอบครัว ปูแซ็งจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านมุ่งหน้าไปกรุงปารีสเพื่อเรียนศิลปะที่เขาชื่นชอบ

เด็กหนุ่มวัย 18 ปีที่เข้ามาล่าฝันในเมืองหลวงเริ่มต้นด้วยการทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนภาพในสตูดิโอของจิตรกรที่ปารีสหลายคน ส่วนใหญ่อยู่ได้ไม่นานต้องเปลี่ยนที่ทำงานไปเรื่อยเพราะยังไม่เจอกับสไตล์การเขียนภาพที่เขาชอบ ในขณะเดียวกันเขาได้เรียนกายวิภาคศาสตร์,ภาพเพอร์สเปคตีพ และสถาปัตยกรรมไปด้วย จนเขามีโอกาสได้เห็นผลงานของศิลปินอิตาลีหลายคนจากภาพที่เก็บสะสมไว้ในราชสำนักซึ่งเขาชื่นชอบมาก เขาจึงพยายามเดินทางไปกรุงโรมเพื่อจะได้ศึกษาผลงานของศิลปินเหล่านั้นอย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 1617 แต่ต้องเจอกับอุปสรรคไปไม่ถึงโรมอยู่หลายครั้ง ในที่สุดเขาก็ไปถึงโรมจนได้ในปี 1624 ด้วยความช่วยเหลือของ Giambattista Marino กวีชาวอิตาลีที่เคยจ้างเขาเขียนภาพลายเส้นให้ รวมทั้งในปีก่อนหน้านั้นยังช่วยให้เขาได้รับการว่าจ้างเขียนภาพสำคัญชิ้นแรกของเขาให้กับอาร์ชบิชอปแห่งมหาวิหารนอเทรอดามคือภาพ Death of the Virgin

 
ล่าฝันต่อที่กรุงโรมเมืองหลวงแห่งศิลปะ

nicolas-poussin-early-works-01

 
ระหว่างเดินทางไปที่กรุงโรมปูแซ็งแวะเมืองเวนิสเพื่อเยี่ยมชมผลงานของศิลปินชั้นยอดของเวนิสซึ่งมีสไตล์เฉพาะที่แตกต่างจากทางกรุงโรมรวมทั้งได้ศึกษาผลงานของ Titian ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขาในเวลาต่อมาอยู่ไม่น้อย ตอนที่มาถึงกรุงโรมปูแซ็งมีอายุ 30 ปีพอดี ในเวลานั้นโรมยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะของยุโรปเหมือนเช่นที่เคยเป็นมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ บรรดาเหล่าศิลปินมากฝีมือจากทั่วโลกต่างมารวมตัวสร้างผลงานกันที่นี่ ปูแซ็งได้ศึกษาผลงานของศิลปินชั้นครูในยุคเรอเนสซองส์หลายคนโดยเฉพาะของ Raphael ที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ รวมทั้ง Caravaggio ศิลปินยุคบาโรกที่โด่งดังที่สุดในกรุงโรมคนล่าสุดที่เสียชีวิตไปเมื่อสิบกว่าก่อน

ในสองสามปีแรกที่กรุงโรมปูแซ็งมีชีวิตที่ค่อนข้างยากลำบากเนื่องจากเขาเป็นจิตรกรหน้าใหม่ยังไม่มีชื่อเสียง อีกทั้ง Giambattista Marino ก็มาด่วนเสียชีวิตไปหลังจากเขามาอยู่ที่โรมได้ไม่นานนัก แต่ยังดีที่ Marino ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับพระคาดินัล Francesco Barberini ซึ่งเป็นหลานของพระสันตปาปาและ Cassiano dal Pozzo เลขานุการของพระคาดินัลซึ่งเป็นนักวิชาการผู้มีความหลงใหลในโรมันและกรีกโบราณที่ต่อมากลายเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของเขา ปี 1628 ปูแซ็งเขียนภาพ The Death of Germanicus ที่เป็นผลงานเอกชิ้นแรกของเขาให้กับพระคาดินัล Francesco Barberini และในปีเดียวกันเขายังได้รับงานสำคัญยิ่งกว่าเป็นการเขียนภาพสำหรับแท่นบูชาในมหาวิหารเซ็นต์ปีเตอร์คือภาพ Martyrdom of St. Erasmus ผลงานชิ้นนี้สร้างชื่อเสียงและทำให้เขากลายเป็นศิลปินชั้นแนวหน้าของกรุงโรม

 
ย้อนยุคสู่สไตล์คลาสสิกในแบบของตัวเอง

nicolas-poussin-development-period-01

 
ในช่วงแรกปูแซ็งเขียนภาพในหลากสลายสไตล์มีทั้งแบบปารีสที่เขาเรียนรู้มาแต่ต้น, สไตล์เวนิสในแนวของ Titian ซึ่งเขาก็ทำได้ดี รวมทั้งสไตล์เหมือนจริงอย่างของ Caravaggio ที่กำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วอิตาลีและยุโรป ความสับสนในการค้นหาสไตล์ของตัวเองจากความหลากหลายที่มีอยู่และการแข่งขันที่รุนแรงของศิลปินในอิตาลีทำให้เขาป่วยหนักในปี 1630 พ่อครัวทำขนมชื่อ Jacques Dughet ได้ให้ความช่วยเหลือพาเขามารักษาและพักฟื้นอยู่ที่บ้านจนหายดี และนั่นทำให้ปูแซ็งได้พบรักและแต่งงานกับ Anne-Marie Dughet ลูกสาวของผู้มีพระคุณในปีเดียวกัน

ปูแซ็งตัดสินใจเลิกรับงานชิ้นใหญ่ที่ทำให้กับทางศาสนจักรหันมาเขียนภาพที่มีขนาดเล็กลงแต่มีรายละเอียดและความประณีตมากกว่า ด้วยความสนิทสนมกับ Cassiano dal Pozzo ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 1630 ได้ชักนำให้เขาสนใจในตำนานและบทกวีของโรมันและกรีกโบราณ เรื่องราวเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจในการเขียนภาพแก่เขานอกเหนือจากเรื่องราวทางศาสนาที่เป็นใช้หลักอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเขาก็ละทิ้งสไตล์การเขียนภาพแบบชาวเวนิสและสไตล์บาโรกอื่นๆทั้งหมดหันไปใช้สไตล์คลาสสิกยุคเรอเนสซองส์ในแบบของ Raphael แต่เขาได้พัฒนามาเป็นสไตล์เฉพาะของตัวเอง

ปูแซ็งได้สร้างผลงานชั้นยอดออกมาอย่างมากมายในช่วงทศวรรษนี้ ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ภาพ Et in Arcadia ego (หรือ The Arcadian Shepherds) และภาพ A Dance to the Music of Time อันเป็นผลงานชิ้นเอกที่สร้างชื่อมากที่สุด รวมทั้งภาพ The Abduction of the Sabine Women, The Empire of Flora และภาพเขียนชุดพิธีทางศาสนา 7 ภาพในชื่อชุด The Seven Sacraments ผลงานชั้นยอดเหล่านั้นส่งให้ปูแซ็งกลายเป็นศิลปินที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของกรุงโรมในเวลานั้นพร้อมกับฉายาเรียกขานเขาเป็น “New Raphael”

 
จิตรกรเอกราชสำนักผู้ไม่มีความสุขกับงาน

nicolas-poussin-development-period-02

 
ชื่อเสียงของปูแซ็งดังก้องไปถึงกรุงปารีส ปี 1639 เขาได้รับข้อเสนอให้กลับกรุงปารีสไปเขียนภาพให้กับทางราชสำนักฝรั่งเศสแต่เขาปฏิเสธ กษัตริย์ Louis XIII จึงส่งคนไปเชื้อเชิญแกมบังคับให้กลับมารับตำแหน่งจิตรกรเอกแห่งราชสำนักฝรั่งเศส หลังจากลังเลอยู่นานเพราะเขาอยากทำงานที่กรุงโรมมากกว่าแต่ในที่สุดก็มิอาจขัดคำสั่งของกษัตริย์ได้ ปลายปี 1640 ปูแซ็งจึงเดินทางกลับไปรับตำแหน่งที่บ้านเกิดแต่ตลอดเกือบสองปีที่ทำงานในตำแหน่งนี้เขาไม่มีความสุขกับงานเลยด้วยเหตุผลหลายอย่าง ทั้งรูปแบบการทำงานที่ขัดกับความถนัดและสไตล์ส่วนตัว รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มบุคคลที่ไม่ต้องการให้เขารับตำแหน่งนี้

ในฐานะเป็นจิตรกรเอกราชสำนักปูแซ็งต้องมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การเขียนภาพประดับพระราชวังของกษัตริย์, ออกแบบแกรนด์แกลลอรี่ของพระราชวังลูฟวร์, เขียนภาพแท่นบูชาสำหรับกษัตริย์และสมาชิกในราชวงศ์ รวมไปถึงการออกแบบภาพประกอบหนังสือ โดยใช้ระบบการทำงานเป็นทีมมีผู้ช่วยหลายคนเพื่อรับมือกับงานที่มีจำนวนมาก แต่ปูแซ็งมีวิธีการทำงานอีกแบบหนึ่งเขาเป็นศิลปินที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระไม่ต้องเร่งรีบไม่มีกรอบมาบังคับกะเกณฑ์จึงไม่ชอบการทำงานแบบนี้ ประกอบกับมีกลุ่มบุคคลในราชสำนักที่ไม่ชอบเขาคอยสร้างปัญหามารบกวนจนเขาเบื่อ ปลายปี 1642 เขาอาศัยจังหวะที่กษัตริย์ออกจากกรุงปารีสไปต่างจังหวัดเดินทางกลับกรุงโรมโดยอ้างว่าไปรับตัวภรรยา พอดีหลังจากนั้นไม่นานกษัตริย์เสียชีวิตลงเขาจึงถือโอกาสอยู่ที่กรุงโรมอย่างถาวร

 
เพิ่มความโดดเด่นด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม

nicolas-poussin-mature-period-02

 
แม้ว่าปูแซ็งจะเป็นศิลปินเลื่องชื่อในกรุงโรมมีฐานะการเงินมั่นคงแต่เขากลับใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ เขากับภรรยาอยู่กันอย่างสงบสุขในบ้านที่ไม่หรูหราไม่มีคนใช้มาคอยให้บริการ เขาปฏิเสธการรับตำแหน่งเกียรติยศมากมายรวมทั้งตำแหน่งนายกสมาคมศิลปินแห่งกรุงโรม (Academy of Saint Luke) ปูแซ็งยังคงมุ่งมั่นอยู่กับการพัฒนาวิธีการเขียนภาพของเขาต่อไป เทคนิคอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนใครคือการใช้หุ่นจำลอง เมื่อเขาสเก็ตช์ภาพเบื้องต้นของภาพที่จะเขียนแล้วเขาจะสร้างหุ่นขี้ผึ้งขนาดเล็กของบุคคลในภาพ เขาจัดวางองค์ประกอบในภาพโดยใช้หุ่นขี้ผึ้งดังกล่าวซึ่งเขาสามารถปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ รวมทั้งใช้พิจารณาลักษณะแสงเงาเพื่อใช้ในตอนที่เขียนภาพจริงได้อย่างสมจริงยิ่งขึ้น

ในทศวรรษ 1640 ปูแซ็งยังคงมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมายเช่นเดิมอย่างเช่นภาพ The Holy Family on the Steps, The Judgment of Solomon (ปูแซ็งเองชอบภาพนี้มากที่สุด) และภาพ Self-Portrait (1650) เป็นต้น แต่ที่เพิ่มความโดดเด่นขี้นมากคือการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามเหนือกว่าศิลปินอื่นทั้งหมด ภาพทิวทัศน์ในจินตนาการของปูแซ็งมีองค์ประกอบและรายละเอียดที่สวยงามอย่างยิ่งและเหมือนจริงมาก เช่น ภาพ Landscape with the Ashes of Phocion, Landscape with a Calm และ ภาพ Landscape with Diogenes ปูแซ็งได้พัฒนาฝีมือและสร้างผลงานการเขียนภาพทิวทัศน์ออกมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง ระหว่างปี 1660 – 1664 เขาได้เขียนภาพชุด The Four Seasons ที่ประกอบด้วยภาพ 4 ภาพแสดงบรรยากาศคนละช่วงเวลาของวันใน 4 ฤดู เป็นผลงานที่งดงามอย่างยิ่งโดยเฉพาะภาพ Autumn และภาพ Summer

 
ศิลปินต้นแบบศิลปะคลาสสิกของฝรั่งเศส

nicolas-poussin-mature-period-1

 
การไปเป็นจิตรกรราชสำนักในช่วงต้นทศวรรษ 1640 ของปูแซ็งถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ผลพลอยได้ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการได้รู้จักกับผู้อุปถัมภ์และนักสะสมศิลปะของฝรั่งเศสหลายคน พวกเขาเหล่านี้ได้จ้างปูแซ็งเขียนภาพให้จำนวนมากซึ่งไม่เพียงช่วยชดเชยกับการที่ผู้อุปถัมถ์คนสำคัญของเขาที่กรุงโรมขาดหายไปเนื่องจากเสียชีวิตไปบ้างหรือย้ายออกไปอยู่ที่อื่นบ้างเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังทำให้ภาพเขียนจากพรสวรรค์ชั้นยอดของปูแซ็งเหล่านั้นถูกส่งกลับไปยังกรุงปารีสและได้กลายเป็นศูนย์รวมของศิลปะคลาสสิกของฝรั่งเศสมาตั้งแต่ตอนนั้น

ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของปูแซ็งเขายังคงสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมของเขาต่อไปแม้จะลดน้อยลงไปเนื่องจากสุขภาพที่ทรุดโทรมลงไปตามวัย โดยมีผลงานภาพเขียนในแนวศาสนาเป็นหลัก และยังมีภาพเขียนจากตำนานหรือบทกวีเก่าแก่ รวมทั้งภาพเขียนทิวทัศน์ในจินตนาการที่สวยงามสลับกันไป ปูแซ็งเสียชีวิตที่กรุงโรมในปี 1665 ในวัย 71 ปี หลังจากปูแซ็งจากไปแล้วผลงานของเขาได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะในฝรั่งเศส ศิลปินดังแห่งฝรั่งเศสหลายยุคหลายสมัยได้อาศัยผลงานของปูแซ็งเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน อย่างเช่น Jacques-Louis David, Jean-Auguste-Dominique Ingres และ Eugène Delacroix ในยุคนีโอคลาสิก หรือ Paul Cézanne ในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ก็มีปูแซ็งเป็นไอดอล หรือแม้กระทั่งในยุคศิลปะสมัยใหม่สุดยอดศิลปินอย่าง Pablo Picasso ก็ใช้ผลงานของปูแซ็งเป็นต้นแบบด้วยเช่นกัน

 
ผลงานสุดคลาสสิกของศิลปินยุคบาโรก

ปูแซ็งเป็นศิลปินในยุคบาโรกที่ส่วนใหญ่นิยมสร้างผลงานที่แปลกใหม่ผิดแผกไปกว่ายุคก่อน แต่เขากลับย้อนยุคไปเขียนภาพสไตล์คลาสสิกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานของปูแซ็งส่วนใหญ่เป็นแนวศาสนาและเรื่องจากตำนานเก่าแก่ โดยมีผลงานภาพทิวทัศน์ในจินตนาการที่สวยงามโดดเด่นเป็นพิเศษ และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของผลงานอันยอดเยี่ยมสุดคลาสสิกของศิลปินผู้นี้

Early Works (1624 – 1630)

nicolas-poussin-early-works-01

The Death of Germanicus

nicolas-poussin-early-works-02

Martyrdom of St. Erasmus

nicolas-poussin-early-works-03

The Inspiration of the Poet

nicolas-poussin-early-works-04

Massacre of the Innocents

nicolas-poussin-early-works-05

Nymph with Satyrs

nicolas-poussin-early-works-06

Apollo and Daphne

nicolas-poussin-early-works-07

Echo and Narcissus

nicolas-poussin-early-works-08

The Arcadian Shepherds

nicolas-poussin-early-works-09

Acis and Galatea

nicolas-poussin-early-works-10

Rinaldo and Armida

nicolas-poussin-early-works-11

Bacchic Scene

nicolas-poussin-early-works-12

Midas and Bacchus

nicolas-poussin-early-works-13

Sleeping Venus and Cupid

nicolas-poussin-early-works-14

Death of the Virgin

nicolas-poussin-early-works-15

Venus and Adonis

Development Period (1630 – 1640)

nicolas-poussin-development-period-01

Et in Arcadia ego

nicolas-poussin-development-period-02

A Dance to the Music of Time

nicolas-poussin-development-period-03

The Abduction of the Sabine Women

nicolas-poussin-development-period-04

Ordination (from The Seven Sacraments)

nicolas-poussin-development-period-05

The Empire of Flora

nicolas-poussin-development-period-06

The Continence of Scipio

nicolas-poussin-development-period-07

The Adoration of the Golden Calf

nicolas-poussin-development-period-08

The Triumph of Pan

nicolas-poussin-development-period-09

The Plague at Ashdod

nicolas-poussin-development-period-10

The Birth of Venus

nicolas-poussin-development-period-11

Parnassus

nicolas-poussin-development-period-12

The Holy Family with Saint John the Baptist

nicolas-poussin-development-period-13

Finding of Moses

nicolas-poussin-development-period-14

Tancred and Erminia

nicolas-poussin-development-period-15

The Companions of Rinaldo

nicolas-poussin-development-period-16

The Feeding of Jupiter

nicolas-poussin-development-period-17

The Triumph of Bacchus

nicolas-poussin-development-period-18

The Destruction of the Temple at Jerusalem

Mature Period (1640 – 1653)

nicolas-poussin-mature-period-01

Self-Portrait (1650)

nicolas-poussin-mature-period-02

Landscape with the Ashes of Phocion

nicolas-poussin-mature-period-03

The Funeral of Phocion

nicolas-poussin-mature-period-04

The Holy Family on the Steps

nicolas-poussin-mature-period-05

Landscape with Diogenes

nicolas-poussin-mature-period-06

The Institution of the Eucharist

nicolas-poussin-mature-period-07

The Judgment of Solomon

nicolas-poussin-mature-period-08

Landscape with Polyphemus

nicolas-poussin-mature-period-09

Assumption of the Virgin

nicolas-poussin-mature-period-10

Miracle of Saint Francis Xavier

nicolas-poussin-mature-period-11

Landscape with a Man killed by a Snake

nicolas-poussin-mature-period-12

Rebecca at the Well

nicolas-poussin-mature-period-13

Self Portrait (1649)

nicolas-poussin-mature-period-14

Landscape with a Woman Washing her Feet

nicolas-poussin-mature-period-15

The Seven Sacraments II – Eucharist

Later Years (1653 – 1665)

nicolas-poussin-later-years-01

Autumn (The Spies with the Grapes of the Promised Land)

nicolas-poussin-later-years-02

Landscape with a Calm

nicolas-poussin-later-years-03

Blind Orion Searching for the Rising Sun

nicolas-poussin-later-years-04

Summer (Ruth and Boaz)

nicolas-poussin-later-years-05

Winter (The Flood)

nicolas-poussin-later-years-06

Spring (Adam and Eve)

nicolas-poussin-later-years-07

Holy Family

nicolas-poussin-later-years-08

Lamentation over the Dead Christ

nicolas-poussin-later-years-09

The Flight into Egypt

nicolas-poussin-later-years-10

Saints Peter and John Healing the Lame Man

nicolas-poussin-later-years-11

Moses Exposed by the River

nicolas-poussin-later-years-12

Ideal Landscape

nicolas-poussin-later-years-13

Saint Frances Announcing the End of the Plague in Rome

nicolas-poussin-later-years-14

Achilles on Skyros

nicolas-poussin-later-years-15

Finding of Moses

nicolas-poussin-later-years-16

The Will of Eudamidas

nicolas-poussin-later-years-18

Stormy Landscape with Pyramus and Thisbe

นีกอลา ปูแซ็ง เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในวงการศิลปะโลก ผลงานของเขาถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาพเขียนของเขาอาบชุ่มไปด้วยความงดงามแบบคลาสสิกของศิลปะในอดีตแต่ได้ปูทางสร้างพื้นฐานของศิลปะแห่งอนาคตเอาไว้ด้วย เขาจึงเป็นต้นแบบให้กับศิลปินดังในยุคต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัยและชื่อเสียงของเขาก็ยังคงยืนยงอยู่ถึงปัจจุบัน

nicolas-poussin-02

 

ข้อมูลและภาพจาก wikipedia, britannica, nicolaspoussin.org

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *