10 สุดยอดศิลปินหญิง/จิตรกรหญิงของโลกกับ 10 ผลงานชิ้นเอก

วงการศิลปะในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาได้ปรากฏศิลปินผู้ยิ่งใหญ่มากมายแต่ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าในอดีตผู้หญิงถูกกีดกันไม่ให้ได้รับการศึกษาศิลปะในระดับสูง ความคิดเช่นนี้ดำเนินมาอย่างยาวนานเพิ่งจะผ่อนคลายลงในยุคหลังๆนี่เอง แต่ก็มีผู้หญิงที่น่าทึ่งจำนวนไม่น้อยที่ได้พยายามฝ่าฟันอุปสรรคนานาพัฒนาฝีมือตัวเองจนกลายเป็นศิลปินระดับแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากผู้คนรวมทั้งศิลปินคนดังฝ่ายชายด้วย ในทุกยุคทุกสมัยจึงมีศิลปินหญิงที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ศิลปะอันยอดเยี่ยมงดงามไม่แพ้ศิลปินชาย และต่อไปนี้คือ 10 สุดยอดศิลปินหญิง/จิตรกรหญิงของโลกกับ 10 ผลงานชิ้นเอก

1. ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo)frida-kahlo-00

ฟรีดา คาห์โล เป็นจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศเม็กซิโกโดยเฉพาะภาพเหมือนของเธอมีความโดดเด่นมาก คาห์โลเกิดเมื่อปี 1907 ที่ชานกรุงเม็กซิโกซิตี ตอนหกขวบเธอเป็นโปลิโอขาขวาลีบ ตอนอายุ 18 ปีรถบัสที่เธอนั่งชนกับรถราง เธอบาดเจ็บสาหัสเกือบตาย ต้องนอนรักษาตัวหลายเดือน และนั่นเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้เธอหันมาสนใจศิลปะ คาห์โลเริ่มเขียนภาพทั้งที่ยังนอนติดเตียงจนกระทั่งได้รู้จักและแต่งงานกับ Diego Rivera ศิลปินชื่อดังของเม็กซิโกในปี 1929 เธอติดตามสามีไปสหรัฐอเมริกาพร้อมกับทำงานเขียนภาพไปด้วย และได้ร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการประจำปี 1931 ของเมืองซานฟรานซิสโกด้วยภาพ Frieda and Diego Rivera

หลังจากกลับมาเม็กซิโกคาห์โลมีปัญหาด้านสุขภาพอีกหลายอย่าง เธอต้องเข้าผ่าตัดไส้ติ่ง, แท้งลูก 2 ครั้ง และตัดนิ้วเท้าที่เนื้อตายทิ้ง ขณะที่ความสัมพันธ์กับสามีก็เลวร้ายเกิดความร้าวฉานเพราะเขาเป็นคนเจ้าชู้นอกใจเธอหลายครั้งและยังมีความสัมพันธ์กับน้องสาวของเธอเองอีกจนทั้งคู่ต้องหย่ากัน ถึงคาห์โลจะมีปัญหามากมายแต่ผลงานการเขียนภาพกลับยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี 1937 – 1940 เธอสร้างผลงานชั้นยอดมากมาย และยังเดินทางไปร่วมในนิทรรศการหลายแห่งทั้งที่กรุงนิวยอร์กและกรุงปารีส ได้พบปะกับศิลปินดังหลายคนรวมทั้ง Pablo Picasso ผลงานที่โดดเด่นที่สุดในช่วงนี้คือภาพ Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird กับภาพ The Two Fridas ซึ่งทั้งสองภาพเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเธอ

ภาพเขียนของคาห์โลนอกจากจะงดงามด้วยลายเส้นและสีสันอันสดใสแล้ว สิ่งที่เป็นจุดประทับใจอีกอย่างหนึ่งคือการสะท้อนความรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เธอได้รับออกมาในรูปแบบที่แปลกใหม่ และยิ่งเด่นชัดขึ้นในผลงานช่วงหลัง อย่างเช่นในภาพ The Broken Column, Without Hope และ The Wounded Deer เป็นต้น หลังจากปี 1950 สุขภาพของคาห์โลซึ่งได้รับผลต่อเนื่องจากอุบัติเหตุร้ายแรงตอนวัยสาวก็ยิ่งแย่หนัก เธอหันไปเขียนภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ที่มีผลไม้เป็นองค์ประกอบหลัก คาห์โลเสียชีวิตในปี 1954 มีอายุเพียง 47 ปี ผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดชีวิตแต่กลับสร้างผลงานยิ่งใหญ่เหลือเชื่อผู้นี้ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในศิลปินที่สำคัญมากที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20

10 ผลงานชิ้นเอกของฟรีดา คาห์โล

frida-kahlo-01Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird

 

frida-kahlo-02

The Two Fridas

frida-kahlo-03

Self Portrait with Cropped Hair

frida-kahlo-04

The Wounded Deer

frida-kahlo-05

The Broken Column

frida-kahlo-06

Without Hope

frida-kahlo-07

Frieda and Diego Rivera

frida-kahlo-08

Self Portrait as a Tehuana

frida-kahlo-09

The Suicide of Dorothy Hale

frida-kahlo-10

My Grandparents My Parents and Me

 

2. อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี (Artemisia Gentileschi)artemisia-gentileschi-00

เจนตีเลสกี เป็นจิตรกรผู้หญิงหนึ่งเดียวแห่งยุคบาโรกที่มีความสามารถและชื่อเสียงทัดเทียมกับจิตรกรชายชั้นนำในยุคเดียวกัน เธอเกิดในปี 1593 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นลูกของจิตรกรที่พอจะมีชื่อเสียงผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากงานของ Caravaggio และสิ่งนั้นได้ถ่ายทอดต่อไปยังลูกสาวผู้เต็มไปด้วยพรสวรรค์ในการเขียนภาพ อายุแค่ 17 ปีเจนตีเลสกีก็เริ่มสร้างความฮือฮาด้วยภาพเขียนแรกของเธอคือภาพ Susanna and the Elders ตามมาด้วยภาพ Danae แต่น่าเศร้าใจที่เธอถูกข่มขืนโดยอาจารย์ผู้สอนศิลปะของเธอเอง เมื่อเธอฟ้องศาลเธอยังถูกทรมานเพื่อป้องกันการแจ้งความเท็จ หลังจากชนะคดีเธอได้แต่งงานกับศิลปินผู้หนึ่งและย้ายไปอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์บ้านเกิดของสามีพร้อมกับสร้างผลงานจนมีชื่อเสียงโด่งดัง

เจนตีเลสกีเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมและโดดเด่นจำนวนมากมาย โดยเฉพาะภาพ Judith Slaying Holofernes ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเธอ ภาพนี้ได้ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจนมากจนหลายคนคิดว่าเธอเขียนภาพนี้ด้วยพลังแห่งความแค้นที่มีต่ออาจารย์ผู้ข่มขืนเธอ ปี 1621 เจนตีเลสกีกลับไปอยู่ที่กรุงโรมหลังจากมีปัญหากับสามีที่ใช้จ่ายเกินตัว และที่โรมเธอสร้างผลงานชั้นยอดอีกมากมายรวมทั้งภาพ Judith and Her Maidservant, ภาพ Venus and Cupid (Sleeping Venus) และภาพ Esther and Ahasuerus

ปี 1630 เจนตีเลสกีย้ายไปอยู่ที่เมืองเนเปิลส์และอยู่ที่นั่นไปจนตลอดชีวิต เธอยังคงสร้างผลงานชั้นยอดต่อไปและยังได้เขียนภาพอีกแนวหนึ่งให้กับวิหารในเมืองอย่างเช่นภาพ The Birth of Saint John the Baptist ปี 1638 เจนตีเลสกีไปทำงานให้กับราชสำนักอังกฤษที่กรุงลอนดอนร่วมกับพ่อและมีผลงานชิ้นเยี่ยมเป็นภาพเหมือนตัวเองคือภาพ Self-Portrait as the Allegory of Painting ซึ่งเป็นภาพที่ดูเหมือนจะบ่งบอกถึงพลังความสามารถของผู้หญิงผ่านทางการเป็นจิตรกร เธอกลับมาอยู่ที่เนเปิลส์ตอนเริ่มเกิดสงครามกลางเมืองอังกฤษในปี 1642 และเสียชีวิตตอนเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่พรากชีวิตศิลปินชาวเนเปิลส์ไปเกือบหมดเมื่อราวปี 1656

10 ผลงานชิ้นเอกของอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี

artemisia-gentileschi-01Judith Slaying Holofernes

 

artemisia-gentileschi-02

Susanna and the Elders

artemisia-gentileschi-03

Venus and Cupid (Sleeping Venus)

artemisia-gentileschi-04

Danae

artemisia-gentileschi-05

Self-Portrait as the Allegory of Painting

artemisia-gentileschi-06

Esther and Ahasuerus

artemisia-gentileschi-07

Self-Portrait as Saint Catherine of Alexandria

artemisia-gentileschi-08

Judith and Her Maidservant

artemisia-gentileschi-09

Jael and Sisera

artemisia-gentileschi-10

The Birth of Saint John the Baptist

 

3. เอลีซาแบ็ต หลุยส์ วีเฌ เลอเบริง (Élisabeth Louise Vigée Le Brun)elisabeth-louise-igee-le-Brun-00

เอลีซาแบ็ต หลุยส์ วีเฌ เลอเบริง เป็นจิตรกรผู้หญิงชาวฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่18 โดยเฉพาะผลงานภาพเหมือนของผู้หญิงมีความโดดเด่นมาก วีเฌ เลอเบริงเกิดที่กรุงปารีสในปี 1755 พ่อเป็นจิตรกรเขียนภาพบนพัดและเป็นครูคนแรกของเธอ เธอยังได้รับการแนะนำจากจิตรกรมีชื่อของปารีสอีกหลายคน วีเฌ เลอเบริงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญการเขียนภาพเหมือนตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ปี 1781 เธอไปศึกษาผลงานศิลปินเฟลมิชที่เนเธอร์แลนด์ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจกับเธอมาก โดยเฉพาะผลงานของ Peter Paul Rubens และนั่นทำให้เธอสร้างผลงานชิ้นเอก Self-portrait in a Straw Hat ในปี 1782 ซึ่งเป็นภาพเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเธอ

ปีต่อมาโอกาสสำคัญของเธอก็มาถึงเมื่อ Marie Antoinette พระราชินีแห่งฝรั่งเศสได้เรียกเธอไปเขียนภาพเหมือนให้ ผลงานของเธอสร้างความพอใจแก่พระราชินีจนมอบหมายให้วีเฌ เลอเบริงเขียนภาพของเธอและครอบครัวเป็นเวลานานหลายปีจำนวนกว่า 30 ภาพ หลายภาพเป็นผลงานชั้นยอดอย่างเช่นภาพ Marie Antoinette and her Children และภาพ Marie-Antoinette with the Rose รวมทั้งได้เขียนภาพให้สมาชิกในราชวงศ์และบุคคลชั้นสูงมากมาย ภาพ Madame Grand และ Comtesse de la Châtre เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ยอดเยี่ยมจำนวนมากที่เธอเขียนในช่วงนี้ ปี 1783 วีเฌ เลอเบริงได้เข้าเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะ French Academy of Painting and Sculpture ซึ่งเป็นเรื่องพิเศษมากสำหรับศิลปินผู้หญิง

ปี 1789 เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสโค่นล้มระบบกษัตริย์วีเฌ เลอเบริงหนีไปอยู่ต่างประเทศนานถึง 12 ปี เธอทำงานเขียนภาพที่อิตาลี ออสเตรีย รัสเซีย และเยอรมัน ผลงานที่ยอดเยี่ยมช่วงนี้ก็มีมากมาย เช่น ภาพ Portrait of Anna Pitt as Hebe และภาพ Portrait of a Young Woman เป็นต้น เธอกลับปารีสในปี 1802 แต่ไม่ชอบชีวิตความเป็นอยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียนจึงไปทำงานเขียนภาพที่อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์อีกหลายปี ก่อนจะกลับมาอยู่ที่ปารีสอย่างถาวร เธอซื้อบ้านที่ Louveciennes ชานเมืองปารีสและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นั่นทำงานเขียนภาพทั้งภาพเหมือน ภาพทิวทัศน์ และฉากในตำนาน วีเฌ เลอเบริงเสียชีวิตในปี 1842 ด้วยวัย 86 ปี ทิ้งผลงานภาพเหมือนกว่า 660 ภาพและภาพทิวทัศน์อีกกว่า 200 ภาพ

10 ผลงานชิ้นเอกของเอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง

elisabeth-louise-igee-le-Brun-01Self-portrait in a Straw Hat

 

elisabeth-louise-igee-le-Brun-02

Marie-Antoinette with the Rose

elisabeth-louise-igee-le-Brun-03

Marie Antoinette and her Children

elisabeth-louise-igee-le-Brun-04

Madame Grand

elisabeth-louise-igee-le-Brun-05

Portrait of Anna Pitt as Hebe

elisabeth-louise-igee-le-Brun-06

Comtesse de la Châtre

elisabeth-louise-igee-le-Brun-07

Madame d’Aguesseau de Fresnes

elisabeth-louise-igee-le-Brun-08

The Marquise de Pezay, and the Marquise de Rougé with Her Sons Alexis and Adrien

elisabeth-louise-igee-le-Brun-09

Portrait of Marie Gabrielle de Gramont

elisabeth-louise-igee-le-Brun-10

Portrait of a Young Woman

 

4. แมรี เคแซต (Mary Cassatt)mary-cassett-00

แมรี เคแซต เป็นจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญทั้งภาพเขียนและภาพพิมพ์ เคแซตเรียนศิลปะที่บ้านเกิดจนถึงปี 1866 ขณะมีอายุ 22 ปีเธอได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในสมัยนั้นผู้หญิงยังถูกกีดกันเธอจึงไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนในสถาบันดังอย่าง École des Beaux-Arts จึงต้องเรียนเป็นการส่วนตัวกับครูผู้สอนโดยตรง ในช่วงเวลานั้นกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่เริ่มหันไปสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่กัน แต่เคแซตยังคงยึดแนวทางแบบเดิมอยู่พยายามสร้างผลงานส่งเข้าร่วมนิทรรศการศิลปะ Paris Salon อยู่หลายปี ผลงานของเธอหลายชิ้นได้รับการคัดเลือกเข้าแสดงในนิทรรศการ แต่เธอก็เริ่มเห็นว่าภาพเขียนของจิตรกรหญิงมักถูกมองข้ามและผลงานช่วงหลังของเธอถูกปฏิเสธทั้งหมด

ราวปี 1877 Edgar Degas ชักชวนเคแซตให้เข้าร่วมกับกลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนสนิทกันมีสตูดิโอเขียนภาพใกล้กัน Degas เป็นศิลปินที่เคแซตชื่นชอบมากเขาแนะนำเธอหลายอย่างรวมทั้งเทคนิคการใช้สีพาสเทลและการทำภาพพิมพ์ เคแซตร่วมแสดงภาพในนิทรรศการของกลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ครั้งแรกในปี 1879 และประสบความสำเร็จด้วยดีโดยเฉพาะภาพ Little Girl in a Blue Armchair จากนั้นเคแซตได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในแนวอิมเพรสชันนิสม์อีกหลายปีมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมาย เช่น ภาพ Child in a Straw Hat, The Cup of Tea, Young Woman Sewing in a Garden และ The Boating Party เป็นต้น ถือเป็นหนึ่งในจิตรกรหญิงที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น

หลังจากที่กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์แยกย้ายกันไปสร้างสรรค์งานที่แต่ละคนชื่นชอบเคแซตก็หันมาเน้นการเขียนภาพแสดงความผูกพันระหว่างแม่กับลูกจนมีผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมามากมาย หนึ่งในนั้นคือภาพ The Child’s Bath ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดชิ้นหนึ่งของเธอ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เคแซตได้สร้างผลงานภาพพิมพ์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินชาวญี่ปุ่นและเลือกใช้สีพาสเทลเป็นส่วนใหญ่อย่างเช่นภาพ Woman Bathing (La Toilette) และ The Letter ผลงานภาพพิมพ์ของเธอมีความโดดเด่นและได้รับการยกย่องอย่างมากกลายเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเธอ ช่วงบั้นปลายชีวิตเธอต้องหยุดเขียนภาพเนื่องจากเป็นโรคเบาหวานและต้อกระจกจนดวงตาเกือบบอด เคแซตเสียชีวิตในปี 1926 ในวัย 82 ปีที่บ้านใกล้กรุงปารีสทิ้งผลงานอันน่าประทับใจทั้งภาพเขียนและภาพพิมพ์ให้ผู้คนได้ชื่นชมจำนวนหลายร้อยภาพ

10 ผลงานชิ้นเอกของแมรี เคแซต

mary-cassett-01The Child’s Bath

 

mary-cassett-02

Little Girl in a Blue Armchair

mary-cassett-03

Child in a Straw Hat

mary-cassett-04

The Cup of Tea

mary-cassett-05

The Boating Party

mary-cassett-06

Young Woman Sewing in a Garden

mary-cassett-07

After the Bullfight

mary-cassett-08

The Tea

mary-cassett-09

Children Playing on the Beach

mary-cassett-10

Woman Bathing (La Toilette)

 

5. จอร์เจีย โอคีฟ (Georgia O’Keeffe)georgia-okeeffe-00

จอร์เจีย โอคีฟ เป็นศิลปินคนสำคัญชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 20 ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “มารดาของลัทธิสมัยใหม่อเมริกัน” โอคีฟใฝ่ฝันเป็นจิตรกรอาชีพและเรียนศิลปะมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เธอเรียนศิลปะจากหลายสถาบันทั้งที่ชิคาโก, นิวยอร์ก และเวอร์จิเนีย ปี 1908 เธอเริ่มฉายแววโดดเด่นเมื่อได้รับรางวัลจากการแข่งขันเขียนภาพหุ่นนิ่ง จนเมื่อได้เรียนรู้แนวคิดในการสร้างงานศิลปะของจิตรกรชาวอเมริกัน Arthur Wesley Dow ซึ่งได้รับอิทธิพลจากหลักการออกแบบและจัดองค์ประกอบศิลป์ของญี่ปุ่น แนวคิดและวิธีการของเขามีอิทธิพลต่อเธออย่างมาก โอคีฟเริ่มทดลองเขียนภาพตามแนวคิดของ Dow และพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นสไตล์ของตัวเอง

ปี 1916 โอคีฟได้พบกับ Alfred Stieglitz ช่างภาพและผู้ค้าศิลปะซึ่งชื่นชอบผลงานของเธอมากถึงขนาดจัดการแสดงภาพเดี่ยวของเธอที่สตูดิโอของเขา โอคีฟเริ่มต้นเป็นจิตรกรมืออาชีพภายใต้การสนับสนุนของ Stieglitz ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากขึ้นจนแต่งงานกันในที่สุด ผลงานเด่นชิ้นแรกๆของโอคีฟได้แก่ภาพ Blue and Green Music จากนั้นเธอได้เขียนภาพดอกไม้ขนาดใหญ่ในระยะใกล้ด้วยสไตล์เฉพาะตัวกลายเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธออย่างมาก เธอเขียนภาพดอกไม้ไว้ราว 200 ภาพมีภาพที่โดดเด่นได้รับความนิยมมากมาย เช่น Jimson Weed, Black Iris, Oriental Poppies รวมถึงภาพ Red Canna ที่หลายคนมักตีความว่าเธอต้องการสื่อถึงอวัยวะเพศผู้หญิง และหนึ่งในภาพดอกไม้ของเธอคือภาพ Jimson Weed/White Flower No. 1 ได้กลายเป็นภาพเขียนฝีมือผู้หญิงที่มีราคาแพงที่สุดในโลกที่ 44.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นับจากราวปี 1929 โอคีฟเริ่มเป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากสามีไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นจนบางครั้งถึงกับต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ในช่วงนี้เธอชอบเดินทางไปท่องเที่ยวแถบนิวเม็กซิโกในดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขาหินและทะเลทราย โอคีฟเขียนภาพที่มีกระดูกศีรษะและเขาของสัตว์เป็นองค์ประกอบหลักโดยมีพื้นหลังเป็นทิวทัศน์ของดินแดนแถบนี้จำนวนมาก ผลงานช่วงนี้ของเธอที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ภาพ Cow’s Skull- Red, White, and Blue และ Summer Days เป็นต้น หลังจากที่ Stieglitz เสียชีวิตไปเมื่อปี 1946 โอคีฟซื้อบ้านและย้ายไปอยู่ที่นิวเม็กซิโกอย่างถาวรใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบที่นั่นพร้อมกับสร้างผลงานภาพทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการอย่างเช่นภาพ Ladder to the Moon และ Sky Above Clouds โอคีฟเสียชีวิตในปี 1986 มีอายุยืนยาวถึง 98 ปี

10 ผลงานชิ้นเอกของจอร์เจีย โอคีฟ

georgia-okeeffe-01Jimson Weed

 

georgia-okeeffe-02

Black Iris

georgia-okeeffe-03

Oriental Poppies

georgia-okeeffe-04

Cow’s Skull- Red, White, and Blue

georgia-okeeffe-08

Ladder to the Moon

georgia-okeeffe-06

Sky Above Clouds IV

georgia-okeeffe-09

Radiator Building- Night, New York

georgia-okeeffe-05

Blue and Green Music

georgia-okeeffe-07

Abstraction White Rose

georgia-okeeffe-10

Red Canna

 

6. อังเกลีคา เคาฟ์มัน (Angelica Kauffman)angelica-kauffman-00

อังเกลีคา เคาฟ์มัน เป็นจิตรกรชาวสวิสในยุคนีโอคลาสสิกที่ประสบความสำเร็จอย่างมากได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรหญิงชั้นแนวหน้าแห่งศตวรรษที่ 18 เคาฟ์มันเกิดที่สวิสเซอร์แลนด์แต่ไปเติบโตที่ออสเตรีย เริ่มเรียนการเขียนภาพกับพ่อที่เป็นจิตรกรฝีมือดี เธอเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์สูงมากมีโอกาสได้เขียนภาพของบุคคลสำคัญของเมืองตั้งแต่อายุแค่ 12 ปี หลังจากแม่เสียชีวิตในปี 1754 พ่อพาเธอไปอยู่ที่อิตาลี เคาฟ์มันเดินทางไปที่เมืองสำคัญหลายแห่งทั้งมิลาน ฟลอเรนซ์ โรม และเนเปิล ตลอดช่วงเวลาหลายปีในอิตาลีเคาฟ์มันได้ศึกษาผลงานของศิลปินชั้นครูในยุคเรอเนสซองส์พร้อมกับรับงานเขียนภาพให้กับผู้ที่ชื่นชอบในฝีมือของจิตรกรหญิงหน้าใหม่อย่างเธอจนเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อสบโอกาสเหมาะเธอจึงเดินทางไปสร้างชื่อที่ประเทศอังกฤษในปี 1766

ที่กรุงลอนดอนเคาฟ์มันได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและเธอได้แสดงฝีมือการเขียนภาพอันยอดเยี่ยมโดยเฉพาะภาพเหมือนบุคคลจนเป็นที่ชื่นชอบ มีสมาชิกในราชวงศ์และบุคคลชั้นสูงมานั่งเป็นแบบให้เธอเขียนภาพให้อย่างไม่ขาดสาย เคาฟ์มันเป็นเพื่อนที่ดีกับ Joshua Reynolds จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคของอังกฤษ เธอเป็นหนึ่งในสองศิลปินหญิงที่ร่วมก่อตั้งสถาบันศิลปะของอังกฤษ Royal Academy of Arts ผลงานที่โดดเด่นของเคาฟ์มันระหว่างที่อยู่ในอังกฤษได้แก่ภาพ Portrait of a Lady, Portrait of Eleanor, Countess of Lauderdale, The Family of the Earl of Gower รวมทั้งภาพ Self-Portrait (1775) ที่เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเธอ แม้ว่าเคาฟ์มันจะได้รับการยกย่องในฐานะจิตรกรภาพเหมือนแต่เธอต้องการเขียนภาพประวัติศาสตร์ซึ่งในอังกฤษไม่ค่อยนิยมมากนัก ในที่สุดหลังจากทำงานอยู่อังกฤษนาน 15 ปีเธอจึงย้ายไปอยู่ที่อิตาลีอีกครั้งในปี 1782

พอมาอยู่ที่อิตาลีเคาฟ์มันก็ได้เขียนภาพประวัติศาสตร์สมใจและสร้างผลงานเลื่องชื่อหลายชิ้นอย่างเช่นภาพ The Sorrow of Telemachus และ Tragedy and Comedy เป็นต้น แต่เธอยังคงเขียนภาพเหมือนบุคคลเป็นหลักอยู่เหมือนเดิมและมีผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมามากมาย รวมทั้งภาพ Self-portrait Hesitating between the Arts of Music and Painting และ Anna Maria Jenkins; Thomas Jenkins ทำให้ชื่อเสียงของเธอยิ่งเลื่องลือมากขึ้นกว่าเดิม เคาฟ์มันเสียชีวิตที่กรุงโรมในปี 1807 ในวัย 66 ปี งานศพของเธอถูกจัดขึ้นอย่างสมเกียรติของศิลปินคนสำคัญแห่งยุคมีความวิจิตรงดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การเสียชีวิตของ Raphael ภายใต้การดูแลของ Antonio Canova ประติมากรผู้โด่งดังที่เป็นเพื่อนของเธอ

10 ผลงานชิ้นเอกของอังเกลีคา เคาฟ์มัน

angelica-kauffman-01Self-Portrait (1775)

 

angelica-kauffman-02

Self-portrait Hesitating between the Arts of Music and Painting

angelica-kauffman-03

Portrait of a Lady

angelica-kauffman-04

Ariadne Abandoned by Theseus

angelica-kauffman-05

Portrait of Eleanor, Countess of Lauderdale

angelica-kauffman-06

The Family of the Earl of Gower

angelica-kauffman-07

The Sorrow of Telemachus

angelica-kauffman-08

Anna Maria Jenkins; Thomas Jenkins

angelica-kauffman-09

Tragedy and Comedy

angelica-kauffman-10

Telemachus and the Nymphs of Calypso

 

7. โซโฟนิสบา อังกิสโซลา (Sofonisba Anguissola)sofonisba-anguissola-00

โซโฟนิสบา อังกิสโซลา เป็นจิตรกรหญิงชาวอิตาลีที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในยุคเรอเนสซองส์ เธอเกิดในตระกูลขุนนางระดับล่างที่มีฐานะไม่สู้ดีนักแถมมีลูกดกแต่เธอได้รับการศึกษาอย่างดี อังกิสโซลาโชคดีที่มีโอกาสได้เรียนเขียนภาพกับ Bernardino Campi จิตรกรภาพเหมือนฝีมือดีในเมืองบ้านเกิด ในสมัยนั้นผู้หญิงถ้าไม่มีพ่อแม่เป็นศิลปินเองแทบไม่มีโอกาสได้เรียนศิลปะเพราะไม่มีใครรับลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิง อังกิสโซลามีพรสวรรค์สูงมากมีฝีมือเข้าขั้นมืออาชีพตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นเห็นได้จากภาพ Self-portrait with Bernardino Campi ที่เขียนตอนอายุแค่ 18 ปี ในปี 1554 อังกิสโซลาเดินทางไปกรุงโรมแล้วได้พบกับ Michelangelo ซึ่งเห็นพรสวรรค์ในตัวเธอและให้คำแนะนำแก่เธอหลายเรื่องแบบไม่เป็นทางการ ช่วงระหว่างนี้เธอมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมากส่วนใหญ่เป็นภาพเหมือนตัวเองและภาพคนในครอบครัวได้แก่ภาพ Self-portrait at an Easel, The Game of Chess และ Portrait of the Artist’s Family เป็นต้น

ชีวิตของอังกิสโซลาเริ่มพลิกผันเมื่อกษัตริย์ Phillip II แห่งสเปนได้ชักชวนเธอไปเป็นจิตรกรราชสำนักและเป็นครูสอนศิลปะให้แก่พระราชินีองค์ใหม่ Elisabeth of Valois จิตรกรสาวในวัยยี่สิบตอนปลายจึงไปทำงานที่ราชสำนักสเปนในกรุงมาดริดในปี 1560 อังกิสโซลามีความสัมพันธ์ที่ดีและได้รับการชื่นชมจากพระราชินี เธอเขียนภาพของสมาชิกในราชวงศ์สเปนจำนวนมากมีผลงานที่โดดเด่นได้แก่ภาพ Portrait of Philip II of Spain, Portrait of Elisabeth of Valois และ Portrait of Joanna of Austria หลังจากที่พระราชินีเสียชีวิตไปในปี 1568 กษัตริย์ Phillip II ยังคงดูแลเธอต่อไปรวมทั้งยังช่วยให้เธอได้แต่งงานกับขุนนางชาวซิซิลี จากนั้นเธอจึงย้ายไปอยู่ที่ซิซิลีโดยยังคงได้รับเงินบำนาญจากทางราชสำนักสเปน ปี 1579 สามีของเธอเสียชีวิตหลังจากนั้นสองปีเธอจึงเดินทางกลับบ้านเกิด

ระหว่างนั่งเรือกลับบ้านชีวิตของอังกิสโซลาพลิกผันอีกครั้งเมื่อเธอได้พบรักกับกัปตันเรือลำนั้น ทั้งคู่แต่งงานกันและไปตั้งรกรากที่เมืองเจนัว ระหว่างอยู่ที่เจนัวอังกิสโซลายังคงเขียนภาพให้กับตระกูลขุนนางและบุคคลชั้นสูง รวมทั้งภาพเหมือนตัวเองที่เธอทำมาตลอดชีวิตโดยสามีของเธอให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ผลงานเด่นในช่วงเวลานี้ได้แก่ภาพ Three Children with Dog และ Self-Portrait (1610) เป็นต้น ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมและชื่อเสียงที่สั่งสมมาเป็นเวลานานระยะหลังจึงมีศิลปินรุ่นใหม่มาเยี่ยมและศึกษาสไตล์การเขียนภาพของเธออยู่เสมอ รวมทั้ง Anthony Van Dyke ศิลปินดังยุคต่อมา หลังจากอยู่ที่เมืองเจนัวนาน 35 ปีอังกิสโซลาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองปาแลร์โม เธอเสียชีวิตที่นั่นในปี 1625 ด้วยวัย 93 ปี

10 ผลงานชิ้นเอกของโซโฟนิสบา อังกิสโซลา

sofonisba-anguissola-01Self-portrait at an Easel

 

sofonisba-anguissola-02

The Game of Chess

sofonisba-anguissola-05

Portrait of the Artist’s Family

sofonisba-anguissola-04

Portrait of Philip II of Spain

sofonisba-anguissola-03

Self-portrait with Bernardino Campi

sofonisba-anguissola-06

Portrait of Bianca Ponzoni Anguissola

sofonisba-anguissola-07

Portrait of Elisabeth of Valois

sofonisba-anguissola-08

Portrait of Joanna of Austria

sofonisba-anguissola-09

Three Children with Dog

sofonisba-anguissola-10

Self-Portrait (1610)

 

8. จูดิธ เลย์สเตอร์ (Judith Leyster)judith-leyster-00

จูดิธ เลย์สเตอร์ เป็นจิตรกรหญิงชาวดัตช์ในยุคทองของเนเธอร์แลนด์ช่วงศตวรรษที่ 17 เธอเป็นศิลปินมากพรสวรรค์อายุแค่ 20 ปีก็มีผลงานที่ยอดเยี่ยมระดับมืออาชีพแล้วอย่างเช่นภาพ Serenade และ The Jolly Toper พออายุ 24 ปีได้เข้าเป็นสมาชิกผู้หญิงคนแรกๆในสมาคมศิลปินอาชีพแห่งเมือง Haarlem บ้านเกิดของเธอ หลังจากนั้นเพียงสองปีเธอมีลูกศิษย์ผู้ชาย 3 คนหนึ่งในนั้นเป็นต้นเหตุให้เธอฟ้องร้อง Frans Hals จิตรกรคนสำคัญที่สุดในเมืองว่าได้รับเขาไปเป็นลูกศิษย์โดยไม่ขออนุญาตจากเธอจนอีกฝ่ายต้องจ่ายเงินชดเชยให้ หลังเหตุการณ์ชื่อเสียงของเลย์สเตอร์ในฐานะจิตรกรหญิงฝีมือดีก็เลื่องลือไปทั่ว

เลย์สเตอร์ชอบเขียนภาพชีวิตประจำวันและภาพเหมือนบุคคล จุดเด่นในสไตล์การเขียนภาพของเธออยู่ที่ท่าทางสบายๆและมีชีวิตชีวาของคนในภาพรวมทั้งการแสดงอารมณ์บนใบหน้าที่ชัดเจน ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเป็นภาพเหมือนตัวเองชื่อ Self-portrait by Judith Leyster ซึ่งถูกยกย่องเป็นผลงานชิ้นเอกของสมาคมศิลปินอาชีพแห่งเมือง Haarlem เลย์สเตอร์ทำงานเขียนภาพแบบเต็มที่อยู่เพียงแค่ 6 ปีเท่านั้นแต่ได้สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมไว้จำนวนไม่น้อย ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ภาพ The Young Flute Player, A Boy and a Girl with a Cat and an Eel และ Carousing Couple เป็นต้น เลย์สเตอร์แต่งงานกับ Jan Miense Molenaer จิตรกรคนบ้านเดียวกันตอนอายุ 27 ปี หลังจากแต่งงานเธอเขียนภาพน้อยลงมาก

เลย์สเตอร์กับสามีย้ายไปอยู่ที่เมืองอัมสเตอร์ดัมเพื่อโอกาสของงานที่ดีกว่า ทั้งคู่อยู่ที่นั่น 11 ปีก่อนจะย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดอย่างถาวร ช่วงหลังแม้เลย์สเตอร์จะไม่ค่อยได้เขียนภาพมากนักแต่เธอก็ยังมีผลงานที่ยอดเยี่ยมอย่างเช่นภาพ The Last Drop รวมทั้งภาพหุ่นนิ่งอีกหลายภาพ เลย์สเตอร์เสียชีวิตตอนอายุ 50 ปีหลังจากนั้นชื่อของเธอหายไปจากความทรงจำของผู้คนนานเกือบ 200 ปี ภาพเขียนของเธอถูกคิดว่าเป็นผลงานของสามีของเธอหรือไม่ก็เป็นผลงานของ Frans Hals ที่มีสไตล์คล้ายกัน จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ชื่อเสียงของเธอในฐานะสุดยอดจิตรกรหญิงแห่งยุคบาโรกจึงกลับคืนมาอีกครั้ง

10 ผลงานชิ้นเอกของจูดิธ เลย์สเตอร์

judith-leyster-01Self-portrait by Judith Leyster

 

judith-leyster-02

The Proposition

judith-leyster-03

The Last Drop

judith-leyster-04

The Jolly Toper

judith-leyster-05

Serenade

judith-leyster-06

A Boy and a Girl with a Cat and an Eel

judith-leyster-07

The Young Flute Player

judith-leyster-08

A Youth with a Jug

judith-leyster-09

Carousing Couple

judith-leyster-10

Merry Trio

 

9. แบร์ธ โมริโซ (Berthe Morisot)berthe-morisot-00

แบร์ธ โมริโซ เป็นจิตรกรหญิงชาวฝรั่งเศสที่ได้ร่วมกับกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่สร้างสรรค์ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์จนโด่งดัง เธอเป็นลูกสาวข้าราชการระดับสูงจากเมืองบูร์ชที่สนใจการเขียนภาพมาตั้งแต่เด็ก พอเป็นวัยรุ่นจึงเข้ามาศึกษาศิลปะที่กรุงปารีสด้วยการฝึกคัดลอกภาพเขียนของศิลปินชั้นครูในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และเป็นลูกศิษย์ของ Jean-Baptiste-Camille Corot จิตรกรภาพทิวทัศน์เลื่องชื่อ ผลงานของโมริโซถูกคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ Paris Salon เป็นครั้งแรกในปี 1864 หลังจากนั้นภาพเขียนของเธอก็ได้ร่วมในนิทรรศการสำคัญนี้เป็นประจำทุกปีนานนับสิบปี ผลงานเด่นของเธอในช่วงนี้ได้แก่ภาพ The Cradle, Portrait of the Artist’s Mother and Sister และ A View of Paris from the Trocadero แต่สไตล์การเขียนภาพโมริโซเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อเธอได้รู้จักกับ Édouard Manet

โมริโซเป็นเพื่อนที่ดีกับ Manet เป็นนางแบบให้กับเขาในผลงานสำคัญหลายชิ้น และยังเป็นน้องสะใภ้ของเขาด้วย เธอหันมาเขียนภาพแนวใหม่ด้วยอิทธิพลของ Manet จากนั้นเธอได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์และเลิกส่งภาพเข้าร่วม Paris Salon อีกต่อไป โมริโซร่วมแสดงภาพในนิทรรศการของกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์ตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งสุดท้ายขาดเพียงครั้งเดียวในปี 1879 เนื่องจากเธอยังอ่อนล้าจากการคลอดลูกสาวเมื่อปลายปีก่อน ผลงานในแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ของเธอยอดเยี่ยมมากโดยเฉพาะภาพ Woman at Her Toilette ที่เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด, ภาพ Eugène Manet on the Isle of Wight, In a Villa at the Seaside, Hanging the Laundry out to Dry รวมทั้งภาพ Young Girl in a Ball Gown ที่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ซื้อไปซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักสำหรับศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์

โมริโซเป็นจิตรกรหญิงแถวหน้าในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เคียงคู่กับ Mary Cassatt ซึ่งเป็นเพื่อนที่ดีของเธอ อันที่จริงช่วงที่เธอยังมีชีวิตอยู่ภาพเขียนของเธอขายได้ดีกว่าศิลปินชายที่ดังคับฟ้าอย่าง Claude Monet และ Pierre-Auguste Renoir เสียด้วยซ้ำ เพียงแต่ในช่วงเวลานั้นศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม โมริโซทำงานเขียนภาพอย่างต่อเนื่องและยังทดลองปรับปรุงพัฒนาเทคนิคและเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆเข้ามาทำให้ผลงานของเธอมีความโดดเด่นอยู่เสมอ ภาพเขียนของโมริโซส่วนใหญ่มีผู้หญิงเป็นองค์ประกอบหลัก ภาพผู้ชายจะมีเพียงภาพที่สามีของเธอเป็นแบบให้เพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น ในช่วงหลังนางแบบคนสำคัญของโมริโซคือ Julie Manet ลูกสาวคนเดียวของเธอที่ต้องเป็นเด็กกำพร้าในวัยแรกรุ่นเมื่อแม่ของเธอเสียชีวิตไปเมื่อปี 1895 ขณะมีอายุ 54 ปี

10 ผลงานชิ้นเอกของแบร์ธ โมริโซ

berthe-morisot-01Woman at Her Toilette

 

berthe-morisot-02

Young Girl in a Ball Gown

berthe-morisot-03

Eugène Manet on the Isle of Wight

berthe-morisot-04

A View of Paris from the Trocadero

berthe-morisot-05

The Cradle

berthe-morisot-06

In a Villa at the Seaside

berthe-morisot-07

The Harbor at Lorient

berthe-morisot-08

Portrait of the Artist’s Mother and Sister

berthe-morisot-09

Summer’s Day

berthe-morisot-10

Hanging the Laundry out to Dry

 

10. หลุยส์ บูร์ชัวส์ (Louise Bourgeois)louise-bourgeois-00

หลุยส์ บูร์ชัวส์ เป็นศิลปินคนสำคัญชาวฝรั่งเศส-อเมริกันในยุคศิลปะสมัยใหม่ที่เพิ่งมาดังเป็นพุแตกจากงานประติมากรรมเมื่อเข้าสู่วัยชราแล้ว เธอเกิดและเติบโตที่ฝรั่งเศสเป็นลูกสาวชนชั้นกลางเจ้าของร้านขายและซ่อมแซมพรมที่น่าจะมีชีวิตปกติสุข แต่เธอกลับมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กเนื่องจากพ่อเป็นคนเจ้าชู้มีสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคนรวมทั้งพี่เลี้ยงสอนภาษาอังกฤษของเธอที่อยู่ในบ้านนานนับสิบปี ในขณะที่แม่ซึ่งมีสุขภาพไม่สู้ดีจำต้องกล้ำกลืนฝืนทนเพื่อรักษาครอบครัวไว้ ตอนแรกบูร์ชัวส์เลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์แต่หลังจากแม่เสียชีวิตตอนเธออายุ 22 ปีจึงได้เปลี่ยนไปเรียนศิลปะ เธอเรียนศิลปะที่กรุงปารีสหลายสถาบันพอจบแล้วก็มาเปิดร้านภาพพิมพ์อยู่ติดกับร้านพรมของพ่อ บูร์ชัวส์ได้พบกับนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวอเมริกัน Robert Goldwater ที่ร้านของเธอเอง ทั้งคู่รักกันตัดสินใจแต่งงานกันจากนั้นเธอก็ย้ายไปอยู่กับสามีที่สหรัฐอเมริกา

บูร์ชัวส์ทำงานศิลปะหลายอย่างทั้งภาพพิมพ์ ภาพเขียน และงานประติมากรรมที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอมากที่สุด เธอยังเป็นครูสอนศิลปะที่หลายสถาบันเป็นเวลายาวนาน ผลงานของเธอส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว เพศ และร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทรงจำอันเจ็บปวดในวัยเด็กของเธอได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างชิ้นงานศิลปะของเธอ อย่างเช่นผลงานที่ชื่อ Destruction of the Father, Cumul I และ Mamelles เป็นต้น บูร์ชัวส์ได้แสดงผลงานร่วมอยู่ในกลุ่มศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ที่มีศิลปินเลื่องชื่ออย่าง Jackson Pollock รวมอยู่ด้วย แต่เธอก็ยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังมากนักจนกระทั่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) ได้จัดแสดงผลงานเดี่ยวของเธอในปี 1982 บูร์ชัวส์ในวัย 70 ปีจึงกลายเป็นศิลปินแถวหน้า และเธอก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุดหลังจากที่เธอได้สร้างผลงานชื่อ Spider ที่สื่อถึงแม่ของเธอเองในขณะที่มีอายุมากกว่า 80 ปีแล้ว

สำหรับบูร์ชัวส์แมงมุมที่ทอใยสร้างรังและดูแลปกป้องลูกให้ปลอดภัยเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงแม่ของเธอซึ่งเป็นช่างทอผ้า เธอสร้างประติมากรรม Spider ขึ้นในปี 1996 เป็นส่วนหนึ่งในผลงานชุด Cells และผลงานชิ้นนี้ได้กลายเป็นประติมากรรมที่สร้างโดยผู้หญิงที่มีราคาแพงที่สุดในโลกที่ราคา 32.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี 1999 เธอยังสร้างประติมากรรมแมงมุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกชื่อ Maman (หมายถึงแม่ในภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งได้กลายเป็นผลงานชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงโด่งดังถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกหลายสิบประเทศ แม้ว่าผลงานตลอดชีวิตของบูร์ชัวส์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงแต่เธอปฏิเสธว่าไม่ใช่ศิลปะสตรีนิยม (Feminist Art) ถึงกระนั้นภาพเขียนชิ้นหนึ่งของเธอยังถูกนำไปขึ้นปกหนังสือและกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการศิลปะสตรีนิยม ศิลปินหญิงผู้มีพลังอันน่ามหัศจรรย์คนนี้ได้เสียชีวิตไปในปี 2010 ขณะมีอายุ 98 ปี

10 ผลงานชิ้นเอกของหลุยส์ บูร์ชัวส์

louise-bourgeois-01Maman

 

louise-bourgeois-02

Destruction of the Father

louise-bourgeois-03

Janus Fleuri

louise-bourgeois-08

Cell (Eyes and Mirrors)

louise-bourgeois-05

Cumul I

louise-bourgeois-06

Father and Son

louise-bourgeois-07

The Nest

louise-bourgeois-04

Quarantania, I

louise-bourgeois-09

Mamelles

louise-bourgeois-10

Arch of Hysteria

 

ข้อมูลและภาพจาก wikipedia, theartstory, britannica, biography

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *