ยัน สเตน สุดยอดจิตรกรมากอารมณ์ขันและสีสันแห่งยุคทองของเนเธอร์แลนด์

ยัน สเตน (Jan Steen) เป็นจิตรกรคนสำคัญในยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (Dutch Golden Age) อีกคนหนึ่งที่มีความโดดเด่นกับผลงานภาพเขียนชีวิตประจำวันที่แฝงอารมณ์ขันและเต็มไปด้วยสีสัน เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับความนิยมและหลากหลายมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 17 เขาอาจไม่ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน แต่ทางด้านผลงานกลับได้รับการยกย่องอย่างสูง

 
ลูกเจ้าของโรงเบียร์ผู้ชื่นชอบศิลปะ

jan-steen-early-works-03

 
ยัน สเตน เป็นชาวดัตช์ เกิดเมื่อปี 1626 ที่เมืองไลเดซึ่งเป็นเมืองเล็กๆของฮอลแลนด์ในสมัยนั้น สเตนเป็นพี่คนโตของพี่น้องแปดคนในครอบครัวผู้ผลิตเบียร์และเปิดร้านเหล้าชื่อ “Red Halberd” มาสองชั่วอายุคน เขาจึงเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมชนชั้นกลางระดับสูง ตอนเด็กสเตนเข้าเรียนภาษาละตินที่โรงเรียนในเมืองบ้านเกิดแบบเดียวกับ Rembrandt ศิลปินรุ่นพี่ผู้มีชื่อเสียงก้องโลกที่เป็นชาวเมืองไลเดนเหมือนกัน สเตนสนใจด้านศิลปะและได้ไปเรียนการเขียนภาพกับจิตรกรฝีมือดีหลายคน รวมทั้ง Nikolaus Knüpfer ที่เมืองอูเทรคต์ และ Adriaen van Ostade ที่เมืองฮาร์เลม

ในปี 1648 สเตนและเพื่อนศิลปินหลายคนได้ก่อตั้ง Guild of Saint Luke หรือสมาคมศิลปินอาชีพแห่งเมืองไลเดนขึ้นมาเพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพศิลปินแบบเดียวกับเมืองอื่นๆ ถึงแม้สเตนจะได้เป็นสมาชิกของสมาคมศิลปินอาชีพที่เพิ่งก่อตั้ง แต่ก็ยังเป็นจิตรกรหน้าใหม่ที่อ่อนด้อยประสบการณ์ เขาจึงเริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยของจิตรกรภาพทิวทัศน์ชื่อดัง Jan van Goyen อยู่นานหลายปีกว่าจะฝึกฝนพัฒนาฝีมือและสั่งสมประสบการณ์มากพอ จนสามารถสร้างผลงานสำคัญชิ้นแรกๆคือภาพ Adolf and Catharina Croeser และ Peasants Before an Inn

 
เปิดโรงเบียร์ของตัวเองแต่ไปไม่รอด

jan-steen-early-works-01

 
สเตนไปทำงานกับ Jan van Goyen ซึ่งมีสตูดิโอที่กรุงเฮก พวกเขาช่วยกันเขียนภาพทิวทัศน์ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงนั้น สเตนไม่เพียงสามารถเข้ากับอาจารย์ได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ Margriet ลูกสาวของอาจารย์ด้วย และพวกเขาก็แต่งงานกันในปี 1649 ทั้งคู่มีลูกด้วยกันถึง 8 คน สเตนทำงานอยู่กับอาจารย์ที่กลายเป็นพ่อตาของเขาจนถึงปี 1654 จนมีชื่อเสียงพอตัว จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่เมืองเดลฟท์เพื่อแสวงหาความสำเร็จของตัวเอง

สเตนน่าจะมองเห็นถึงความตกต่ำของตลาดศิลปะอันเนื่องมาจากสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่ 1 ในช่วงปี 1652 – 1654 ดังนั้นนอกจากการเขียนภาพเขาได้หันไปเช่าโรงเบียร์ชื่อ “The Snake” ที่เมืองเดลฟท์ผลิตเบียร์ออกจำหน่าย แต่สงครามมีผลกระทบไปทั่วทุกวงการ สเตนจึงไม่ประสบความสำเร็จตลอดเวลา 3 ปีที่เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตเบียร์ ปี 1656 สเตนย้ายกลับไปอยู่ใกล้บ้านเกิดที่เมืองเล็กๆทางตอนเหนือของเมืองไลเดน ในช่วงเวลานี้เขาได้สร้างผลงานที่งดงามขึ้นเป็นลำดับ มีผลงานที่โดดเด่นหลายชิ้น เช่น ภาพ Girl Eating Oysters, The Lovesick Maiden และภาพ The Prayer before the Meal เป็นต้น

 
สร้างสรรค์ผลงานในสไตล์เฉพาะตัว

jan-steen-mature-period-01

 
ปี 1660 สเตนย้ายหลักแหล่งอีกครั้ง คราวนี้เขาไปปักหลักอยู่ที่เมืองฮาร์เลมนานนับสิบปี ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สเตนสร้างสรรค์ผลงานออกมามากที่สุดและยังโดดเด่นที่สุดอีกด้วย แม้ว่าเขาจะเริ่มต้นพัฒนาฝีมือจากการเขียนภาพทิวทัศน์และยังมีความโดดเด่นในการเขียนภาพผู้หญิงได้ประณีตงดงามมาก แต่สเตนชอบเขียนภาพแสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านในเรื่องราวต่างๆมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ว่าในช่วงหลังเขาได้เพิ่มความเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวาของตัวละครในภาพ ตลอดจนสอดแทรกอารมณ์ขันและการแสดงออกที่ดูเกินจริงคล้ายอยู่ในโรงละคร จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในผลงานของเขา

สเตนถ่ายทอดภาพชีวิตประจำวันออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา แต่มักจะเต็มไปด้วยความวุ่นวายยุ่งเหยิง จนถูกนำไปใช้เป็นสุภาษิตของชาวดัตช์ที่ว่ายุ่งเหยิงเหมือน “บ้านของสเตน” ภาพของสเตนดูผิวเผินเหมือนนำเสนอแค่อารมณ์ขันและความสนุกสนาน แต่ที่จริงแล้วเขาได้แฝงความนัยและคำเตือนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไว้ด้วย ผลงานสำคัญของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพ The Dancing Couple ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาซึ่งได้แสดงบรรยากาศในประเพณีงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริงของชาวบ้านและการเต้นรำที่สนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีผลงานที่ยอดเยี่ยมอีกมากมาย เช่นภาพ The Feast of Saint Nicholas, Beware of Luxury, Rhetoricians at a Window และ The Physician’s Visit

กลับมาตุภูมิเสพสุขในบั้นปลายชีวิต
 
สร้างสรรค์ผลงานในสไตล์เฉพาะตัว

jan-steen-later-years-01

 
ปี 1669 ภรรยาของสเตนเสียชีวิต ตามมาด้วยการเสียชีวิตของพ่อของเขาในปีถัด สเตนจึงย้ายกลับไปบ้านเกิดอาศัยอยู่ที่เมืองไลเดนตลอดช่วงเวลาที่เหลือของชีวิต ปี 1672 เกิดสงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ส่งผลให้เศรษฐกิจรวมทั้งตลาดศิลปะทรุดลงอย่างหนัก สเตนจึงเปิดร้านเหล้าของตัวเองอีกครั้ง ปีต่อมาเขาแต่งงานใหม่กับ Maria van Egmont มีลูกด้วยกันอีกคนหนึ่ง ปี 1674 สเตนยังได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิลปินอาชีพแห่งเมืองไลเดนอีกด้วย

ในช่วงหลังแม้สเตนจะสร้างผลงานน้อยลงไปมาก แต่เขาก็ยังมีผลงานภาพเขียนที่ยอดเยี่ยมอีกจำนวนไม่น้อย ผลงานที่โดดเด่นในช่วงนี้ได้แก่ภาพ As the Old Sing, So Pipe the Young, Children Teaching a Cat to Dance และภาพ A School for Boys and Girls เป็นต้น สเตนสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมามากมายแต่เขากลับไม่ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน เขามักมีหนี้สินก้อนใหญ่เป็นภาระหนักอกอยู่เสมอ กระนั้นในช่วงบั้นปลายชีวิตเขาก็ได้กลับมาเสพสุขในมาตุภูมิอย่างมีเกียรติ มีศิลปินฝีมือดีรุ่นน้องอย่าง Frans van Mieris เป็นเพื่อนก๊งเหล้าเป็นประจำ สเตนเสียชีวิตเมื่อปี 1679 ในวัย 53 ปี

 
ผลงานขบขันยุ่งเหยิงแฝงคติเตือนใจ

สเตนเป็นจิตรกรที่เขียนภาพได้อย่างยอดเยี่ยมในหลากหลายแนว ทั้งภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือนบุคคล ภาพประวัติศาสตร์ แต่ที่โดดเด่นเป็นที่จดจำมากที่สุดเห็นจะเป็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้านที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน บางครั้งดูยุ่งเหยิง แต่แฝงคติเตือนใจ และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของผลงานที่ยอดเยี่ยมของเขา

Early Works (1650 – 1660)

jan-steen-early-works-01

Girl Eating Oysters

jan-steen-early-works-02

Peasants Before an Inn

jan-steen-early-works-03

Adolf and Catharina Croeser

jan-steen-early-works-04

The Lovesick Maiden

jan-steen-early-works-05

The Prayer before the Meal

jan-steen-early-works-09

Peasants Dancing at an Inn

jan-steen-early-works-07

The Card Players in an Interior

jan-steen-early-works-08

The Drinker

jan-steen-early-works-12

A Village Fair with a Quack

jan-steen-early-works-10

Winter Landscape

jan-steen-early-works-11

The Doctor’s Visit (with a syringe)

jan-steen-early-works-06

The Double Game

jan-steen-early-works-13

The Village Wedding

jan-steen-early-works-14

The Tooth-Puller

jan-steen-early-works-15

The Bowling Game

Mature Period (1660 – 1670)

jan-steen-mature-period-01

The Dancing Couple

jan-steen-mature-period-02

The Feast of Saint Nicholas

jan-steen-mature-period-05

‘As the Old Sing, so Twitter the Young’

jan-steen-mature-period-04

Rhetoricians at a Window

jan-steen-mature-period-03

Beware of Luxury

jan-steen-mature-period-06

The Physician’s Visit

jan-steen-mature-period-07

Skittle Players outside an Inn

jan-steen-mature-period-08

The Happy Family

jan-steen-mature-period-09

A Woman at her Toilet

jan-steen-mature-period-10

Fantasy Interior with Jan Steen and the Family of Gerrit Schouten

jan-steen-mature-period-11

Self-Portrait playing the Lute

jan-steen-mature-period-12

The Family Concert

jan-steen-mature-period-13

The Dissolute Household

jan-steen-mature-period-14

The Life of Man

jan-steen-mature-period-15

Family Scene

jan-steen-mature-period-16

‘Easy Come, Easy Go’

jan-steen-mature-period-17

A Merry Family Feast

jan-steen-mature-period-18

Celebrating the Birth

jan-steen-mature-period-19

The Drawing Lesson

jan-steen-mature-period-20

Marriage of Tobias and Sarah

jan-steen-mature-period-21

The Doctor’s Visit

jan-steen-mature-period-23

The Parrot Cage

jan-steen-mature-period-22

The Wedding Night of Tobias and Sarah

jan-steen-mature-period-27

The Village School

jan-steen-mature-period-24

The Twelfth Night Feast

jan-steen-mature-period-25

The Sick Woman

jan-steen-mature-period-26

Wine is a Mocker

Later Years (1670 – 1679)

jan-steen-later-years-01

As the Old Sing, So Pipe the Young

jan-steen-later-years-02

Self-portrait (1670)

jan-steen-later-years-03

A School for Boys and Girls

jan-steen-later-years-04

The Marriage of Tobias and Sarah

jan-steen-later-years-08

Merry Company on a Terrace

jan-steen-later-years-06

Two Men and a Woman on a Terrace

jan-steen-later-years-07

Merry Threesome

jan-steen-later-years-05

Children Teaching a Cat to Dance

jan-steen-later-years-09

Wedding Feast at Cana

ยัน สเตน เป็นศิลปินอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในช่วงศตวรรษที่ 17 ร่วมกับศิลปินชื่อก้องโลกอย่าง Rembrandt, Johan Vermeer และ Frans Hals ภาพชีวิตประจำวันที่เขานำเสนอเชิงเสียดสีและมีอารมณ์ขันถือว่าโดดเด่นที่สุด

jan-steen-02

 

ข้อมูลและภาพจาก wikipedia, thehistoryofart, mauritshuis

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *