เอ็ดเวิร์ด มุงค์ สุดยอดศิลปินลัทธิแสดงพลังอารมณ์ผู้เขียนภาพสุดหลอนและเศร้าซึม

เอ็ดเวิร์ด มุงค์ (Edvard Munch) เป็นทั้งจิตรกรและช่างภาพพิมพ์คนสำคัญแห่งลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) และลัทธิสัญลักษณ์นิยม (Symbolism) ผลงานของมุงค์โดดเด่นด้วยการนำเสนอภาพความหวาดกลัวและความทุกข์ระทมของมนุษย์เราได้อย่างตราตรึงใจ ภาพเขียนที่โด่งดังมากที่สุดของเขาคือภาพ The Scream เป็นหนึ่งในภาพที่ผู้คนจดจำมากที่สุดในโลก เขาเขียนภาพนี้ไว้ถึง 4 เวอร์ชั่น หนึ่งในนั้นถูกขายไปด้วยราคาเกือบ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มุงค์มีชีวิตที่จมอยู่กับความทุกข์ความเศร้ามาโดยตลอด เขามีชีวิตอย่างโดดเดี่ยวกับความทรงจำอันเศร้าหมองซึมลึกจนเป็นโรคซึมเศร้าต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลอยู่นานกว่าจะหาย ตลอด 6 ทศวรรษของการทำงานมุงค์ได้สร้างผลงานทั้งภาพเขียนและภาพพิมพ์ไว้จำนวนมหาศาล เขาเป็นหนึ่งในสุดยอดศิลปินผู้มีอิทธิพลสูงสุดต่อลัทธิแสดงพลังอารมณ์

 
เด็กขี้โรคผู้เติบโตมากับคุณพ่อโรคจิต

edvard-munch-early-works-01

 
เอ็ดเวิร์ด มุงค์ เป็นชาวนอร์เวย์ เกิดที่เมือง Løten ประเทศนอร์เวย์เมื่อปี 1863 แต่เติบโตที่เมืองหลวงเนื่องจากครอบครัวย้ายมาอยู่ที่กรุงออสโลตั้งแต่มุงค์มีอายุได้เพียงปีเดียว แม่ของมุงค์เสียชีวิตด้วยวัณโรคตอนเขาที่มีอายุ 5 ปี ดังนั้นมุงค์และพี่น้องอีก 4 คนจึงเติบโตภายใต้การดูแลของพ่อซึ่งเป็นคนเคร่งศาสนาและเจ้าอารมณ์จนถึงขั้นเป็นโรคจิตประสาท มุงค์จึงได้รับความทุกข์ระทม ความกลัว และเมล็ดพันธุ์แห่งความบ้าคลั่งจากพ่อมาตั้งแต่เด็ก ต่อมาพี่สาวคนโปรดของเขาเสียชีวิตไปอีกคนด้วยโรคเดียวกับแม่ตอนเขาอายุ 14 ปีเพิ่มความเศร้าซึมให้กับเขามากยิ่งขึ้น

ตอนเด็กมุงค์ป่วยบ่อยมากจนไม่ค่อยได้ไปโรงเรียน เขาจึงมักใช้เวลาวาดรูปเพื่อจะได้มีอะไรทำ ปี 1879 มุงค์เข้าเรียนในวิทยาลัยเทคนิคเพื่อเรียนด้านวิศวกรรมตามความต้องการของพ่อ แต่การเจ็บป่วยอยู่บ่อยๆยังคงเป็นอุปสรรคในการเรียนของเขา อีกทั้งความหลงใหลในงานศิลปะได้เข้ามาบดบังความสนใจด้านวิศวกรรมของเขาจนหมดสิ้นไป ปีต่อมาเขาจึงออกจากวิทยาลัยตัดสินใจมุ่งมั่นเป็นจิตรกรซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับพ่อผู้ไม่เคยเห็นคุณค่าการทำงานด้านศิลปะเลยอย่างมาก แต่มุงค์มีเป้าหมายในการเป็นศิลปินที่ชัดเจน ปี 1881 เขาเข้าเรียนที่สถาบันศิลปะแห่งกรุงออสโล

 
เรียนรู้สไตล์หลากหลายในโลกจิตรกรรม

edvard-munch-early-works-04

 
มุงค์เรียนรู้และพัฒนาฝีมืออย่างรวดเร็วจนเริ่มฉายแววความโดดเด่นออกมาในผลงานบางชิ้น อย่างเช่นภาพ Self-Portrait (1882) เขาฝึกฝนและทดลองเขียนภาพในหลากหลายสไตล์รวมทั้งแนวธรรมชาตินิยมและอิมเพรสชั่นนิสม์ ขณะเดียวกันมุงค์ก็ได้กลายเป็นพวกโบฮีเมียน (Bohemian) ซึ่งมีสไตล์การใช้ชีวิตแบบเป็นอิสระไม่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี และยังได้คบหาเป็นเพื่อนกับ Hans Jæger นักเขียนนักปรัชญาที่เป็นโบฮีเมียนตัวกลั่นผู้หลงใหลการทำลายและสนับสนุนการฆ่าตัวตาย ทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับพ่อยิ่งเลวร้ายลงไปอีก

หลังการทดลองเขียนภาพจำนวนมากมุงค์พบว่าการเขียนภาพแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ยังไม่สามารถทำให้เขาได้แสดงพลังและอารมณ์ได้อย่างที่เขาต้องการ และเป็น Hans Jæger ที่ได้จุดประกายความคิดด้วยการบอกให้เขา ‘เขียนชีวิตตัวเอง’ ออกมาซึ่งทำให้เขาได้คิดตรึกตรองและเกิดมุมมองใหม่ในการเขียนภาพและตามมาด้วยการสร้างผลงานสำคัญชิ้นแรกคือภาพ The Sick Child ที่ได้แรงบันดาลใจจากการตายของพี่สาวเขาเอง ในปี 1889 มุงค์ได้รวบรวมผลงานและจัดการแสดงผลงานเดี่ยวเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปสู่การได้รับทุนไปเรียนศิลปะที่กรุงปารีสเป็นเวลา 2 ปี

 
หลงเสน่ห์ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ยุคหลัง

edvard-munch-early-works-10

 
ที่ปารีสนอกจากเขาจะได้เรียนการเขียนภาพกับ Léon Bonnat ซึ่งมุงค์ไม่ค่อยชอบเท่าไร เขายังได้ไปเที่ยวชมนิทรรศการ หอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์ซึ่งทำให้เขาหลงเสน่ห์ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ยุคหลัง โดยเฉพาะผลงานของ Paul Gauguin, Vincent van Gogh และ Henri de Toulouse-Lautrec ที่โดดเด่นด้วยใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ และได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษจากการต่อต้านลัทธิสัจนิยมและความเชื่อของ Gauguin ที่ว่า ‘ศิลปะเป็นงานที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ใช่การเลียนแบบธรรมชาติ’

ปลายปี 1889 พ่อของมุงค์เสียชีวิตทิ้งให้ครอบครัวตกอยู่ในสภาวะแร้นแค้น เขาต้องกลับบ้านมากู้เงินเพื่อพยุงความเป็นอยู่ของครอบครัว การจากไปของพ่อทำให้มุงค์จมอยู่กับความคิดฆ่าตัวตายเพราะเขาคิดว่า ‘ชีวิตเขามีแต่ความตาย แม่ พี่สาว ปู่ และพ่อตายกันหมด ถ้าเขาตายซะทุกอย่างก็จบ จะอยู่ไปทำไม’ ยังดีที่เป็นแค่ความคิด มุงค์ยังคงพัฒนาสไตล์การเขียนภาพของเขาต่อไปส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ยุคหลัง รวมทั้งการทดลองเขียนภาพในแนวผสานจุดสี (Pointillism) ตามสไตล์ของ Georges Seurat ผลงานที่น่าสนใจในช่วงนี้ได้แก่ภาพ Inger on the Beach, Street Lafayette และ Spring Day on Karl Johan Street เป็นต้น

 
การแสดงพลังอารมณ์คือตัวตนที่แท้จริง

frieze-of-life-period-08

 
ปี 1891 มุงค์ได้รับเชิญจากสมาคมศิลปินแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันให้ไปแสดงผลงานในนิทรรศการที่เบอร์ลิน ภาพเขียนของเขาทำให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นความดังของมุงค์ ที่เบอร์ลินมุงค์ได้พบปะคบหากับนักเขียน ศิลปิน และนักวิจารณ์อีกหลายต่อหลายคน ไม่นานหลังจากนั้นดูเหมือนว่าฝีมือและแนวคิดของมุงค์จะตกผลึกได้ที่ ผลงานชั้นยอดที่เป็นสไตล์ของตัวเองซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นของเขาจึงทยอยออกมาจำนวนมาก ในชุดภาพเขียนที่มีเรื่องราวต่อเนื่องกันเป็นซีรีย์ซึ่งเขาเรียกว่า “Frieze of Life”

มุงค์เขียนภาพในชุด Frieze of Life เสมือนเป็นบทกวีเกี่ยวกับชีวิต ความรัก และความตาย แสดงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆของมนุษย์ เช่น ความรัก, ความวิตกกังวล, การนอกใจ, ความหึงหวง, การพลัดพราก, ความปวดร้าว, ความกลัว, ความตาย ฯลฯ ผ่านลายเส้นและสีสันในสไตล์เฉพาะตัวที่ส่งพลังอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้อย่างตราตรึงใจ ภาพเขียนที่โดดเด่นในชุดนี้ได้แก่ภาพ Madonna, Ashes, Love and Pain (Vampire), Death in the Sickroom, Anxiety รวมทั้งภาพที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของตัวเขาคือภาพ The Scream

 
The Scream ผลงานสุดหลอนก้องโลก

frieze-of-life-period-01

 
ขณะที่มุงค์ได้แนวคิดและสเก๊ตช์แบบร่างของภาพเขียนส่วนใหญ่ในชุด Frieze of Life ในช่วงระหว่าง 4 ปีที่เขาอยู่ที่เบอร์ลิน แต่ The Scream กลับเป็นเหตุการณ์ที่เขาพบเจอแบบทันทีทันใดที่เมืองออสโล ขณะที่เขากำลังเดินไปตามถนนพร้อมกับเพื่อนสองคนในยามพระอาทิตย์ตกดิน ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือด เขาหยุดและเอนกายพิงรั้วด้วยความรู้สึกเหนื่อยหมดเรี่ยวแรงอย่างบอกไม่ถูก ลิ้นของไฟและเลือดทอดยาวเหนือฟยอร์ดสีดำน้ำเงิน เพื่อนของเขาเดินต่อไปขณะที่ตัวเขาล้าหลังตัวสั่นด้วยความกลัว จากนั้นเขาก็ได้ยินเสียงกรีดร้องดังสนั่นแบบไม่มีที่สิ้นสุดของธรรมชาติบาดลึกลงไปถึงจิตวิญญาณจนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเขียนภาพสุดหลอนชื่อดังก้องโลกภาพนี้

ระหว่างปี 1893 – 1910 มุงค์เขียนภาพ The Scream ไว้ถึง 4 เวอร์ชั่น แต่ละเวอร์ชั่นใช้ชนิดของสีแตกต่างกันไป มีทั้งสีน้ำมัน สีฝุ่น และสีพาสเทล The Scream เวอร์ชั่นที่เขียนด้วยสีพาสเทลเมื่อปี 1895 ถูกขายออกไปในปี 2012 ด้วยราคา 119.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอีก 3 เวอร์ชั่นจัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์มุงค์ในกรุงออสโล ปี 1994 ภาพ The Scream เวอร์ชั่นปี 1993 ถูกขโมยออกไปจากหอศิลป์แห่งชาติแต่สามารถตามกลับคืนมาได้ในสภาพไม่เสียหายภายในเวลาไม่กี่เดือน ปี 2004 The Scream เวอร์ชั่น 1910 ถูกขโมยออกจากพิพิธภัณฑ์มุงค์พร้อมกับภาพ Madonna ทำเอาต้องปิดพิพิธภัณฑ์ถึง 10 เดือนเพื่อติดตั้งระบบความปลอดภัยใหม่ แต่ในที่สุดตำรวจก็สามารถตามภาพกลับคืนมาได้ในปี 2006

 
สไตล์ที่เปลี่ยนไปหลังผ่านวิกฤตการณ์

after-breakdown-period-02

 
ความสำเร็จจากผลงานในชุด Frieze of Life ได้สร้างการยอมรับและชื่อเสียงแก่มุงค์อย่างมาก ฐานะการเงินของเขาก็ดีขึ้นเป็นลำดับ เขาซื้อบ้านพักตากอากาศริมฟยอร์ดที่เมืองเล็กๆห่างจากกรุงออสโลทางทิศใต้ราว 100 กม.ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสร้างแรงบันดาลใจในการเขียนภาพตลอดหลายสิบปีต่อมา ปี 1899 ระหว่างที่อยู่ในออสโลมุงค์มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ Tulla Larsen สาวชั้นสูงผู้ร่ำรวยและรักอิสระ ทั้งสองไปเที่ยวอิตาลีกันด้วยความชื่นมื่น แต่หลังจากที่มุงค์เขียนภาพ Dance of Life ซึ่งถือเป็นภาพสุดท้ายในชุด Frieze of Life ได้ไม่นาน Tulla Larsen อยากจะแต่งงานกับเขาซึ่งทำให้เขาเครียดมากเพราะเขาเกลียดการแต่งงานมาตั้งแต่เด็ก การที่เขาดื่มเหล้าอย่างหนักและมีสุขภาพไม่ดีทำให้เขากลัวการแต่งงาน ปีถัดมาเขาก็หนีจากเธอไปอยู่ที่เบอร์ลินและสร้างผลงานอีกจำนวนมากโดยเฉพาะภาพชุด Girls on the Bridge ซึ่งมีถึง 18 เวอร์ชั่น

โรควิตกกังวลและการดื่มหนักของมุงค์นำพาเขาไปสู่ภาวะวิกฤตในปี 1908 เขาเกิดอาการประสาทหลอนแทบจะกลายเป็นคนบ้าจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 8 เดือน พอหายดีเขาก็กลับไปอยู่ที่นอร์เวย์ มีสภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น ดื่มน้อยลง สไตล์การเขียนภาพเปลี่ยนเป็นมีสีสันมากขึ้นและมองโลกในแง่ร้ายน้อยลง ผู้คนก็ให้การต้อนรับผลงานเขาอย่างอบอุ่น พิพิธภัณฑ์ต่างๆเริ่มซื้อผลงานของเขามากขึ้น รวมทั้งเขายังได้รับตำแหน่งอัศวินแห่งนอร์เวย์ในฐานะศิลปินผู้มีผลงานดีเด่น ผลงานสำคัญในช่วงนี้ได้แก่ภาพ The Sun, The Yellow Log และ Workers on their Way Home เป็นต้น

มุงค์มักจะนำผลงานเก่ากลับมาเขียนใหม่ในสไตล์ที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นภาพของเขาในหลายเวอร์ชั่น ในช่วงบั้นปลายชีวิตมุงค์ยังคงสร้างผลงานภาพเขียนต่อไป มีผลงานเด่นอย่างเช่นภาพ Self Portrait: Between Clock and Bed และ Self-Portrait with the Spanish Flu พร้อมกันนั้นเขาต้องคอยรับมือกับความเศร้าความเหงาจากการเสียชีวิตของคนในครอบครัว รวมทั้งน้องสาวและป้าที่ดูแลเขาตั้งแต่เด็กและส่งเสริมให้เขาเป็นศิลปิน มุงค์เสียชีวิตในปี 1944 หลังฉลองอายุ 80 ปีได้ไม่ถึงเดือน เขาทำพินัยกรรมมอบผลงานของเขาทั้งหมดแก่เมืองออสโล ประกอบด้วยภาพเขียนราว 1,100 ภาพ, ภาพลายเส้น 4,500 ภาพ, ภาพพิมพ์กว่า 15,000 ภาพ และงานประติมากรรมอีก 6 ชิ้น ผลงานส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มุงค์ในกรุงออสโล

 
ผลงาน 6 ทศวรรษอันทรงพลังโดดเด่น

มุงค์เริ่มเขียนภาพอย่างจริงจังตั้งแต่อายุ 17 ปีจนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 80 ปี ตลอดช่วงเวลากว่า 6 ทศวรรษนี้เขาได้สร้างผลงานภาพเขียนที่ยอดเยี่ยมจำนวนมากมายกว่า 1,100 ภาพนอกเหนือจากผลงานอื่นๆอีกจำนวนมหาศาล ภาพเขียนของมุงค์โดดเด่นด้วยการแสดงพลังในหลากหลายอารมณ์ได้อย่างตราตรึงใจ และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของผลงานอันทรงพลังโดดเด่นเหล่านั้น

Early Works (1880 – 1891)

edvard-munch-early-works-01

Self-Portrait (1882)

edvard-munch-early-works-02

From Saxegårdsgate

edvard-munch-early-works-03

From Sandviken

edvard-munch-early-works-04

The Sick Child

edvard-munch-early-works-05

Morning

edvard-munch-early-works-06

Small Lake with Boat

edvard-munch-early-works-07

Inger on the Beach

edvard-munch-early-works-08

Portrait of Hans Jæger

edvard-munch-early-works-09

Woman in Blue against Blue Water

edvard-munch-early-works-10

Street Lafayette

edvard-munch-early-works-11

Spring Day on Karl Johan Street

edvard-munch-early-works-12

The Seine at Saint-Cloud

Frieze of Life Period (1891 – 1899)

edvard-munch-frieze-of-life-period-01

The Scream (1893)

edvard-munch-frieze-of-life-period-02

The Scream (1893)

edvard-munch-frieze-of-life-period-03

The Scream (1895)

edvard-munch-frieze-of-life-period-04

Madonna

edvard-munch-frieze-of-life-period-05

Ashes

edvard-munch-frieze-of-life-period-06

The Dance of Life

edvard-munch-frieze-of-life-period-07

Puberty

edvard-munch-frieze-of-life-period-08

Love and Pain (Vampire)

edvard-munch-frieze-of-life-period-09

Evening on Karl Johan Street

edvard-munch-frieze-of-life-period-10

Anxiety

edvard-munch-frieze-of-life-period-11

Death in the Sickroom

edvard-munch-frieze-of-life-period-12

Despair (1892)

edvard-munch-frieze-of-life-period-13

Despair (1894)

edvard-munch-frieze-of-life-period-14

Self-Portrait with Burning Cigarette

edvard-munch-frieze-of-life-period-15

At the Roulette Table in Monte Carlo

edvard-munch-frieze-of-life-period-16

Melancholy

edvard-munch-frieze-of-life-period-20

Hands

edvard-munch-frieze-of-life-period-18

Eye in Eye

edvard-munch-frieze-of-life-period-19

The Kiss

edvard-munch-frieze-of-life-period-17

Separation

edvard-munch-frieze-of-life-period-21

Metabolism

edvard-munch-frieze-of-life-period-22

Self-Portrait with Skeleton Arm

edvard-munch-frieze-of-life-period-27

The Voice (Summer Night)

edvard-munch-frieze-of-life-period-24

Jealousy

edvard-munch-frieze-of-life-period-25

The Dead Mother

edvard-munch-frieze-of-life-period-26

Lady From the Sea

edvard-munch-frieze-of-life-period-23

Inger in Black and Violet

Before Breakdown Period (1899 – 1909)

edvard-munch-before-breakdown-period-01

The Girls on the Bridge

edvard-munch-before-breakdown-period-02

The Ladies on the Bridge

edvard-munch-before-breakdown-period-03

Four girls on the bridge

edvard-munch-before-breakdown-period-04

The Sick Child (1907)

edvard-munch-before-breakdown-period-05

Jealousy

edvard-munch-before-breakdown-period-06

Golgotha

edvard-munch-before-breakdown-period-07

Village in Moonlight

edvard-munch-before-breakdown-period-08

Summer night by the beach

edvard-munch-before-breakdown-period-09

Train Smoke

edvard-munch-before-breakdown-period-10

Self-Portrait at Professor Jacobson’s Hospital

edvard-munch-before-breakdown-period-11

The Death of Marat

edvard-munch-before-breakdown-period-12

Self-Portrait with a Bottle of Wine

edvard-munch-before-breakdown-period-13

Four girls in Arsgardstrand

edvard-munch-before-breakdown-period-14

Portrait of Friedrich Nietzsche

edvard-munch-before-breakdown-period-15

Red and White

After Breakdown (1909 – 1918)

edvard-munch-after-breakdown-period-01

The Scream (1910)

edvard-munch-after-breakdown-period-02

The Sun

edvard-munch-after-breakdown-period-03

The Yellow Log

edvard-munch-after-breakdown-period-04

The Haymaker

edvard-munch-after-breakdown-period-05

The Girls on the Bridge

edvard-munch-after-breakdown-period-09

Bathing Man

edvard-munch-after-breakdown-period-07

The Murderer

edvard-munch-after-breakdown-period-08

Workers on their Way Home

edvard-munch-after-breakdown-period-06

Galloping Horse

edvard-munch-after-breakdown-period-10

Self-Portrait in Bergen

edvard-munch-after-breakdown-period-11

Weeping Nude

edvard-munch-after-breakdown-period-12

Morning Yawn

Later Works (1918 – 1943)

edvard-munch-later-works-01

Self-Portrait. Between the Clock and the Bed

edvard-munch-later-works-02

Jealousy in the Garden

edvard-munch-later-works-03

Horse Team

edvard-munch-later-works-04

Naked Model by the Wicker Chair

edvard-munch-later-works-05

Self-Portrait with Striped Pullover

edvard-munch-later-works-06

Starry Night

edvard-munch-later-works-07

Women on the Bridge

edvard-munch-later-works-08

Self-Portrait with the Spanish Flu

edvard-munch-later-works-09

The Murderer in the Lane

edvard-munch-later-works-10

Self-Portrait (in distress)

edvard-munch-later-works-11

The Artist and His Model

edvard-munch-later-works-12

The Wave

เอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสุดยอดศิลปินผู้มีอิทธิพลสูงสุดต่อลัทธิแสดงพลังอารมณ์ โดยผลงานหลายชิ้นได้สะท้อนความรู้สึกเปลี่ยวเหงาปั่นป่วนหวาดวิตกภายในจิตใจของเขาเอง นอกจากนี้ภาพเขียนของเขายังมีความโดดเด่นในความเป็นลัทธิสัญลักษณ์นิยม เพราะนอกจากจะแสดงพลังอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยมมันยังแฝงด้วยมุมมองที่ซ่อนอยู่ภายในที่ขัดแย้งกับภายนอกและสิ่งที่มองเห็น เขานับเป็นสุดยอดศิลปินในยุคศิลปะสมัยใหม่ที่โดดเด่นที่สุดอีกคนหนึ่ง

edvard-munch-02

 

ข้อมูลและภาพจาก wikipedia, edvardmunch.org, biography

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *