ทำเสื้อเกราะสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ

เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D printing) กำลังขยายบทบาทในเกือบทุกวงการ ด้านการแพทย์ก็เช่นกันได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดถูกนำมาใช้ทำเสื้อเกราะสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคด

บ่อยครั้งที่โรคกระดูกสันหลังคดจะทำการรักษาโดยให้ผู้ป่วยสวมเสื้อเกราะที่คล้ายกับเสื้อคอร์เซ็ทที่ใช้กระชับสัดส่วนของผู้หญิง เพื่อช่วยในการดัดกระดูกสันหลังให้เข้ารูป โดยทั่วไปในการทำเสื้อเกราะพวกนี้จะต้องทำแบบหล่อปูนพลาสเตอร์ที่ลำตัวของผู้ป่วยก่อน แล้วยังมีงานอย่างอื่นต้องทำอีกมาก แต่ถ้าใช้การพิมพ์สามมิติจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Lelio Leoncini นายแพทย์ชาวอิตาลีที่เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ได้เริ่มนำการพิมพ์สามมิติมาใช้ทำเสื้อเกราะเพื่อการรักษากระดูกและกล้ามเนื้อในปี 2014

3d-printed-scoliosis-corset-2

Leoncini ได้เข้าร่วมกับทีมงานของบริษัท WASP (World’s Advanced Saving Project) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติรายใหญ่ และได้ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติรุ่น DeltaWASP 40 70 ในการต่อยอดงานวิจัยของเขา

Leoncini บอกว่ามีข้อดีหลายอย่างในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ อย่างแรกคือแบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างเสื้อเกราะทำขึ้นจากการสแกนที่ตัวผู้ป่วย ไม่มีการหล่อปูนพลาสเตอร์ที่เลอะเทอะวุ่นวาย เสื้อเกราะที่ได้จะฟิตพอดีตัวผู้ป่วยมากกว่า ทำได้เร็วกว่าและราคาถูกกว่าเสื้อเกราะที่ทำด้วยมือแบบเดิม

3d-printed-scoliosis-corset-3

อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าเสื้อเกราะของ Leoncini จะถูกนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ได้เมื่อไร แต่คาดว่าอีกไม่นานเกินรอคงจะได้ใช้กัน

 

ข้อมูลและภาพจาก  wasproject, newatlas

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *