เคล็ดลับในการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนอาจสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีของมนุษย์ได้

จนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่แน่ใจว่าพวกสิ่งมีชีวิตในทะเลเช่นแมงกะพรุนและปลาไหล มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างง่ายดาย โดยใช้พลังงานน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เท่าที่เคยตรวจวัดมาได้อย่างไร แต่นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา (USF) เชื่อว่าพวกเขาอาจจะพบคำตอบแล้ว แทนที่จะขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้าโดยผลักดันน้ำ แมงกะพรุนและปลาไหลกลับดูดน้ำเข้าไปในตัวของพวกมัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยดอกเตอร์ Brad Gemmell ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาชีววิทยา ทำการตั้งแท็งค์น้ำที่มีลูกปัดแก้วเล็กๆที่ถูกทำให้สว่างขึ้นด้วยเลเซอร์ ใช้กล้องดิจิตอลความเร็วสูงบันทึกการเคลื่อนไหวของปลาไหลในแท็งค์ และสังเกตวิธีการว่ายน้ำของปลาไหลซึ่งมีผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของลูกปัด พวกเขาพบว่าการเคลื่อนที่ขึ้นๆลงๆเป็นคลื่นเป็นลอนของปลาไหลได้สร้างถุงน้ำที่มีความดันต่ำในแต่ละช่วงโค้งของลำตัวของมัน น้ำด้านหน้าของปลาไหลได้ไหลเข้าไปในถุงน้ำความดันต่ำดังกล่าวและดึงมันให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า

jellyfish-propulsion-2

แมงกะพรุนถูกนำมาใช้ในการทดสอบแบบเดียวกันซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่คล้ายกัน แม้จะมีรูปร่างและลักษณะการว่ายน้ำที่แตกต่างกันก็ตาม

วิดีโอด้านล่างแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักวิจัยได้เฝ้าสังเกตแมงกะพรุนในแท็งค์ นักวิจัยพบว่าการใช้ความดันสูงร่วมกับความดันต่ำในทางตรงข้ามหรือในทิศทางเดียวการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ช่วยให้สัตว์ทั้งสองชนิดเคลื่อนตัวเองผ่านน้ำโดยใช้พลังงานน้อยมากเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

 

“จากผลการวิจัยเราอาจจะต้องคิดใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับวิวัฒนาการในการปรับตัวของสัตว์น้ำและวิธีที่เราจะออกแบบยานยนต์ในอนาคต” Gemmell กล่าว

ผลการวิจัยล่าสุดของ Gemmel และทีมงานอาจส่งผลกระทบต่อทุกอย่างตั้งแต่การวิวัฒนาการจนถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาและแม้กระทั่งการออกแบบวิธีประหยัดพลังงานขั้นสูงที่ได้แรงบันดาลใจทางชีววิทยา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *