รัสเซียวางแผนส่งดาวเทียมจิ๋วที่สว่างกว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในอีก 2 สัปดาห์

อีกไม่นานบนท้องฟ้ายามค่ำคืนจะปรากฏดาวดวงใหม่ที่สว่างสุกใสยิ่งกว่าดาวฤกษ์ทุกดวง สว่างกว่าดาวอังคารและดาวศุกร์ จะเป็นรองแค่เพียงดวงจันทร์เท่านั้น ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้ารัสเซียจะเป็นผู้ที่ทำให้ดาวใหม่ดวงนี้ปรากฏขึ้น ด้วยการส่งดาวเทียมจิ๋วหรือ CubeSat ที่ชื่อว่า “Mayak” ขึ้นสู่วงโครจร

นักดาราศาสตร์วัดระดับความสว่างของวัตถุบนท้องฟ้าด้วยหน่วยวัดที่เรียกว่าความส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude) ค่าความส่องสว่างปรากฏนี้ยิ่งมีค่าน้อยจะหมายถึงจะยิ่งมีความสว่างมาก ดวงอาทิตย์ซึ่งมีความสว่างมากที่สุดมีค่าประมาณ -27 ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงมีค่าระหว่าง -12 และ -13 ส่วนดาวศุกร์มีค่าราว -5 สำหรับวัตถุที่เราส่งขึ้นไปโคจรอยู่บนท้องฟ้าที่สว่างที่สุดคือสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งมีค่าอยู่ที่ -6

ดาวเทียมจิ๋ว Mayak ของรัสเซียเป็นผลงานการออกแบบแและสร้างโดยนักเรียนที่วิทยาลัยโพลีเทคนิคมอสโก มีขนาด 34 x 10 x 10 ซม. หนัก 3.6 กก. ดาวเทียมขนาดเท่าก้อนขนมปังนี้ประกอบด้วยแหล่งพลังงาน ระบบควบคุม และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือชุดแผ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ทำจากแผ่นฟิล์ม Mylar ที่บางกว่าเส้นผมมนุษย์ 20 เท่า เคลือบด้วยโลหะที่ให้ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงที่ 95%

เมื่อ Mayak ขึ้นสู่วงโคจรแล้วมันจะกางแผ่นสะท้อนแสงออกเป็นรูปทรงพีระมิดมีพื้นที่มากถึง 16 ตารางเมตร ซึ่งจะทำให้มันมีความสว่างในเวลากลางคืนถึงระดับ -10 และจะเป็นวัตถุที่สว่างเป็นอันดับสองรองจากดวงจันทร์ สอดคล้องกับชื่อของมันในภาษารัสเซียที่หมายถึง “ประภาคาร” kameralı sohbet

Mayak นอกจากจะถูกออกแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าอวกาศเป็นเรื่องที่สามารถไปถึงได้ด้วยทีมนักวิทยาศาตร์ทีมเล็กๆแบบเดียวกับ CubeSat ทั้งหลายแล้ว เมื่อมันอยู่ในวงโคจรความสว่างของ Mayak จะถูกใช้ในการศึกษาหาวิธีที่ดีที่สุดในการวัดค่าความส่องสว่างปรากฏของยานอวกาศขนาดเล็ก และสุดท้ายจะทำการทดสอบอุปกรณ์ใหม่ในการหยุดการโคจรและปลดระวางดวงเทียมจิ๋วดวงนี้

แม้ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะน่าสนใจแต่มันอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับนักดาราศาสตร์ที่ต้องคอยติดตามตรวจดูทุกอย่างบนท้องฟ้า การที่มีดาวพเนจรล่องลอยข้ามท้องฟ้าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้

แต่ Alex Shaenko หัวหน้าโครงการบอกว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะปกติก็มียานอวกาศบินอยู่บนท้องฟ้าตอนกลางคืนมากมาย บางลำอาจจะสว่างกว่า Mayak ด้วยซ้ำ ซึ่งมันก็ใช่ เพียงแต่ยานอวกาศเหล่านั้นมันง่ายต่อการติดตามและแยกแยะไม่เหมือนกับในกรณีของ Mayak şehirler arası taşımacılık

อย่างไรก็ตามทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้หวังว่า Mayak จะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนมาใส่ใจกับเรื่องอวกาศมากขึ้น Mayak จะโคจรอยู่เหนือหลายสถานที่ซึ่งจะทำให้มีผู้คนจำนวนมากได้เห็นมัน ในเว็บไซต์ของโครงการได้ระบุวัตถุประสงค์ว่าเพื่อการแพร่หลายของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศ และเพิ่มแรงดึงดูดใจของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบรรดาเยาวชน

 

ข้อมูลและภาพจาก  iflscience, newatlas

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *