วงกลมปริศนาแห่งออสเตรเลีย อีกหนึ่งความลึกลับทางนิเวศวิทยา

วงกลมปริศนาหรือวงกลมนางฟ้า รอยด่างเตียนโล่งที่แสนลึกลับ ซึ่งเคยมีเพียงครั้งเดียวในประเทศนามิเบีย ได้ถูกค้นพบในประเทศออสเตรเลีย และการค้นพบอาจช่วยแก้ปัญหาการถกเถียงกันอย่างมากว่าทำไมถึงได้มีวงกลมปริศนาเกิดขึ้น

วงกลมปริศนาคือรอยของดินที่เตียนโล่งซึ่งเกิดเรียงซ้ำๆในรูปแบบหกเหลี่ยมคล้ายกับรังผึ้ง มันได้รับการถกเถียงกันอย่างมากในประเทศนามิเบีย ทวีปแอฟริกา ที่นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่าเป็นผลงานของปลวก หรือเป็นพิษที่เกิดจากก๊าซใต้ดิน หรือการกระจายที่ไม่สม่ำเสมอของสารอาหารในดิน นักวิจัยพบว่ารูปแบบของวงกลมปริศนาที่นามิเบียมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบของเซลล์ผิวหนังอย่างน่าอัศจรรย์

ตอนนี้การค้นพบวงกลมปริศนาที่ออสเตรเลียได้สนับสนุนอีกทฤษฎีหนึ่ง ตามแบบจำลองระบบนิเวศของ Stephan Getzin ที่ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเยอรมนี วงกลมปริศนาดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการปรับตัวที่เกิดจากการต่อสู้ดิ้นรนจากการขาดแคลนน้ำ

 

วงกลมปริศนาใหม่
barren-spot

Getzin และทีมงานของเขาก่อนหน้านี้ได้ปกป้องทฤษฎีขาดแคลนน้ำ โดยการถกเถียงว่าวงกลมปริศนาเกิดขึ้นเฉพาะในดินแดนแห้งแล้ง และหญ้ามักจะสร้างแถบลายแปลกๆหรือรูปแบบการเจริญเติบโตคดเคี้ยวในพื้นที่ที่น้ำขาดแคลน

การค้นพบใหม่ของวงกลมปริศนาในออสเตรเลียมาจากวิทยาลัยออสเตรเลีย ผู้ส่งภาพถ่ายทางอากาศของภูมิทัศน์อันแห้งแล้งรอบ ๆ นิวแมน ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในเขตพิลบารา ทางออสเตรเลียตะวันตก มันคือแผ่นดินราบเรียบที่ถูกแสงแดดแผดเผา เป็นที่ซึ่งพื้นผิวดินสามารถมีอุณหภูมิสูงถึง 167 องศาฟาเรนไฮต์ (75 องศาเซลเซียส)

สภาพเงื่อนไขที่รุนแรงอาจจะเป็นสาเหตุให้วงกลมปริศนากระจายตัวออกไป Getzin และเพื่อนร่วมงานของเขาได้รายงานเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ในประเทศออสเตรเลียไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปลวกหรือมดต่อจำนวนหรือขนาดของวงกลมปริศนา และรังปลวกรังมดมีแนวโน้มที่จะมองเห็นได้ เว้นระยะเป็นกลุ่มๆไม่แน่ไม่นอน ในขณะที่วงกลมปริศนามีอย่างเป็นระเบียบทั่วไปอย่างน่าทึ่ง

หญ้าที่กระหายน้ำ

นักวิจัยตรวจวัดวงกลมปริศนาอย่างเป็นระบบในสามพื้นที่ใกล้เมืองนิวแมน พวกเขาเอาตัวอย่างดิน วัดอุณหภูมิ และติดตามน้ำที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในดิน พวกเขาวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของลักษณะภูมิประเทศ

พวกเขาพบว่าวงกลมปริศนาที่ออสเตรเลียเกิดขึ้นในดินปนทราย บนสุดเป็นชั้นดินเหนียวแข็ง น้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินเหนียวนี้ได้ และไหลออกไปทียังจุดที่พืชมีการจัดการเพื่อหยั่งรากแทน มันทำให้พืชเหล่านั้นอยู่รอดได้ที่บริเวณขอบของวงกลม เพราะมันจะรวบรวมน้ำฝนทั้งหมดที่ไหลออกจากบริเวณดินที่เตียนโล่ง ในขณะที่บริเวณดินแห้งนั้นยังคงเตียนโล่งอยู่เพราะไม่มีทางที่ต้นกล้าเล็ก ๆ จะสามารถหยั่งรากได้ ศูนย์กลางของว​​งกลมจะร้อนมากและอัดตัวอย่างแน่นหนา Getzin และเพื่อนร่วมงานของเขายืนยันว่าสถานการณ์ที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นในนามิเบีย แม้ว่าดินที่นั่นจะระบายน้ำได้ดีกว่า และการไหลที่ผิดปกติจะเกิดขึ้นใต้ดินแทนที่จะเป็นบนผิวดิน

“มันจำกัดอย่างยิ่งเฉพาะสภาพอากาศในวงแคบๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน” Getzin กล่าว “ดังนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆในทุกพื้นที่ แต่ถ้าสภาพเงื่อนไขสอดคล้าง มันอาจจะพบได้ในที่อื่นๆ”

การศึกษาใหม่ไม่น่าจะสมบูรณ์ทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องสาเหตุการเกิดวงกลมปริศนาต่อไป แต่จะเป็นการตรวจสอบเรื่องขาดแคลนน้ำและไม่สนใจทฤษฎีปลวก

“ผมคิดว่าเราได้ทำขั้นตอนที่สำคัญโดยแสดงให้เห็นว่าวงกลมปริศนาแบบนามิเบียสามารถพบได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับปลวก” เขากล่าว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *