บ้านไม้ไผ่ดีไซน์ใหม่เป็นระบบแยกส่วน เชื่อมต่อกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ถ้าจะสร้างบ้านต้นไม้ ปกติเราจะต้องมีต้องค้อน ตะปูหรือสกรู และแผ่นไม้

แต่ Penda บริษัทสถาปัตยกรรมที่กรุงปักกิ่งได้ออกแบบบ้านต้นไม้ที่ไม่ได้ใช้สิ่งเหล่านั้นเลย มันต้องการแค่เชือกและลำไม้ไผ่เท่านั้น

แนวคิดการออกแบบนี้เพิ่งได้รับรางวัลประเภทการออกแบบสถาปัตยกรรมของการประกวด 2016 A’Design Awards

Penda ยังไม่ได้สร้างบ้านต้นไม้นี้ มันเป็นเพียงแบบจำลองต้นแบบของระบบบ้านไม้ไผ่แบบแยกส่วน ทีมงานเรียกงานออกแบบนี้ว่า ‘Rising Canes’ จากลักษณะของชั้นของไม้ไผ่ที่จะซ้อนทับกันขึ้นไปเพื่อสร้างเป็นบ้านต้นไม้

ทีมงานหวังที่จะสร้างบ้านต้นไม้ขนาดใหญ่นอกกรุงปักกิ่งในปี 2023 มีขนาดพอที่จะให้คนประมาณ 20,000 คนสามารถพักอาศัยอยู่ได้

บ้านต้นไม้สามารถใช้ไม้ไผ่ที่ใช้แล้วหรือไม้ไผ่ท้องถิ่น และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย

bamboo-house-2

Penda ยึดลำไม้ไผ่ด้วยเชือก ไม่ใช้ตะปูในการทำจุดเชื่อมต่อ ใช้ไม้ไผ่ 8 ลำมาประกอบไขว้สร้างขึ้นเป็นข้อต่อสำหรับสานต่อให้เป็นผนังไม้ไผ่

bamboo-house-3

ส่วนพื้นทำจากลำไม้ไผ่วางเรียงชิดติดกัน มันเป็นระบบแยกส่วน หมายถึงว่าชั้นใหม่สามารถสร้างจากข้างนอก แล้วนำมาวางต่อเพิ่มเข้าไปในโครงสร้างที่มีอยู่

bamboo-house-4

เมื่อต่อชั้นไม้ไผ่ได้หลายชั้นก็จะกลายเป็นบ้านต้นไม้ที่สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับอพาร์ทเม้นหลายชั้น

bamboo-house-5

บ้านต้นไม้จะมีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยขนาดเล็กสำหรับครอบครัว แต่ละชั้นจะสูงประมาณ 13 ฟุต

bamboo-house-6

นอกจากนี้ยังสามารถปลูกพืชท้องถิ่นให้เติบโตในโครงสร้างของอาคาร

bamboo-house-7

จะแตกต่างกับอาคารส่วนใหญ่ตรงที่บ้านต้นไม้จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตตามธรรมชาติอยู่ตามลำไม้ไผ่  สร้างเป็นป่าไผ่ที่เขียวชอุ่มโดยรอบอาคาร

bamboo-house-8

ทีมกล่าวว่า “ความรู้สึกของการทิ้งชีวิตในเมืองไว้ข้างหลังและมารับการต่อเชื่อมกับธรรมชาติเป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังการออกแบบครั้งนี้”

bamboo-house-9

Penda หวังที่จะสร้างอาคารหลังแรกสำหรับผู้พักอาศัยราว 20 ครอบครัวให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว และทีมงานตั้งใจจะขยายโครงสร้างให้กลายเป็นคอมเพล็กซ์ครอบคลุมพื้นที่ 250 เอเคอร์ภายในปี 2023

เมื่อชั้นของผนังและพื้นไม้ไผ่ถูกเพิ่มมากขึ้นๆ โครงสร้างก็จะเติบโตจากบ้านต้นให้เป็นเมืองต้นไม้

bamboo-house-10

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบบ้านต้นไม้ ในวิดีโอของ Penda ด้านล่าง

 

ข้อมูลและภาพจาก   sciencealert, behance.net

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *