วิศวกรคิดค้นถนนแบบใหม่ทำจากขยะพลาสติก แข็งแรงทนทานกว่าถนนแอสฟัลท์

Toby McCartney วิศวกรชาวอังกฤษได้คิดค้นการทำถนนแบบใหม่ที่จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกด้วยการนำขยะพลาสติกมาเป็นส่วนผสมของพื้นผิวถนนที่ให้ความแข็งแรงมากกว่าถนนแอสฟัลท์หรือถนนลาดยางมะตอยแบบเดิม 60% ที่สำคัญมีอายุการใช้งานนานกว่าถึง 10 เท่า และยังไม่มีปัญหาถนนเป็นหลุมเป็นบ่ออีกด้วย

ถนนต้องมีการซ่อมแซมกันอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากการสึกหรอจากการใช้งาน สภาพอากาศ และมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ ขณะเดียวกันเรามีปัญหาขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น เฉพาะในทะเลมีขยะพลาสติกถึง 5 ล้านล้านชิ้น McCartney ได้คิดวิธีแก้ปัญหาทั้งสองอย่างพร้อมกัน ด้วยการนำขยะพลาสติกมาทำเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่เรียกว่า MR6 แล้วนำไปแทนที่ยางมะตอยในส่วนผสมของวัสดุที่นำมาใช้ทำผิวถนน

ตามปกติแล้วพื้นผิวถนนแอสฟัลท์จะประกอบด้วยหินคัดขนาดราว 90% อีกราว 10% เป็นยางมะตอย (Bitumen) ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ แต่ส่วนผสมใหม่ของ McCartney เขาใช้ MR6 แทนยางมะตอยเกือบทั้งหมด  MR6 จะถูกผสมกับหินคัดขนาดและยางมะตอยเล็กน้อยด้วยวิธีการแบบเดิม ใช้เครื่องจักรเดิม

waste-plastic-road-2

McCartney ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบถนนพลาสติกหลังจากคุณครูได้ถามเด็กนักเรียนในห้องเรียนว่ามีอะไรอาศัยอยู่ในทะเล และลูกสาวของเขาตอบว่า “พลาสติก” และเขาเคยอยู่ในอินเดียและได้เห็นคนที่นั่นซ่อมหลุมบ่อในถนนด้วยการเอาขยะพลาสติกใส่ในหลุมแล้วจุดไฟเผา

McCartney กับเพื่อน Nick Burnett และ Gordon Reid ได้ร่วมกันตั้งบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ MacRebur รับงานทำถนนด้วยส่วนผสมสูตรใหม่ของ McCartney ที่ได้พื้นผิวถนนที่แข็งแรงทนทานกว่าเดิมและยังช่วยลดขยะพลาสติก

McCartney ได้ชักชวนสภาเทศบาลในอังกฤษสองแห่งใช้ขยะพลาสติกของพวกเขาทำถนนของพวกเขาเองด้วยวิธีของ McCartney  และในขณะนี้ MacRebur กำลังทำถนนแบบใหม่นี้อยู่ที่เมือง Cumbria ในประเทศอังกฤษ

 

ข้อมูลและภาพจาก  inhabitat, macrebur

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *